มองอดีตเขียนปัจจุบัน: การใช้สื่อสังคมออนไลน์ที่ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิต ในกวีนิพนธ์ Hi So-Cial ไฮโซ… เชียล ของขวัญข้าว ขวัญเรียมเอย
Abstract
เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคและยังส่งผลต่อวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้คนและสังคม ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้พัฒนาให้ผู้คนทุกกลุ่มเข้าถึงข้อมูลข่าวสารผ่านระบบอินเทอร์เน็ตในรูปแบบต่าง ๆ ได้แก่ เฟซบุ๊ก ไลน์ อินสตราแกรม ทวิตเตอร์ ยูทูบ วอร์ทแอพ เป็นต้น จากการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายได้ทั่วทุกมุมโลก
เมื่อความก้าวหน้าของเทคโนโลยีเปิดโอกาสให้ผู้คนทุกกลุ่มเข้าถึงและเรียนรู้ จึงเกิดพฤติกรรมของผู้ใช้และผลกระทบทั้งด้านดีและลบ ที่ส่งผลต่อตนเอง เพื่อน ครอบครัว และสังคม ซึ่งผลกระทบจากสื่อสังคมออนไลน์จะมีประโยชน์หรือโทษ ย่อมขึ้นอยู่กับผู้ใช้งานที่จะต้องพิจารณาอย่างเท่าทัน เพราะผลกระทบโดยภาพรวมที่เกิดจากการใช้สื่อสังคมออนไลน์ ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของผู้คน โดยเฉพาะเยาวชน เช่น ด้านสังคม การสื่อสาร การแสดงออกถึงตัวตน การเรียน ความบันเทิง การดำเนินชีวิตประจำวัน และสุขภาพ
References
ขวัญข้าว ขวัญเรียมเอย (นามแฝง). Hi! So-Cial ไฮโซ… เชียล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: Hi So-Cial Team, 2563.
จุฑารัตน์ ศราวณะวงศ์ และคณะ. “พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์”. บรรณศาสตร์ มศว., 10(2), 2560, (16-31). สืบค้น 25 ตุลาคม 2564, จากhttp://ejournals.swu.ac.th/index.php/jlis/article/view/9954, 2560.
ปนัดดา คำมาโฮม และสารภี ขาวดี. “กลวิธีการประพันธ์ในกวีนิพนธ์ของพรชัย แสนยะมูล”.
วิวิธวรรณสาร, 5(2) พฤษภาคม-สิงหาคม 2564, (255-281).
สันติ เล็กสกุล. ผู้ไร้เสียง: คำยืนยันของคายตรี จักรวรตี สปีวาก. กรุงเทพฯ : illuminationseditions, 2561.
อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล. “การเมืองบนเฟซบุ๊ก: วัฒนธรรม-การเมืองบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ พ.ศ. 2533-2555”. วิทยานิพนธ์สังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต สาขาวิชามานุษยวิทยา คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2555.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
Copyright (c) 2022 Journal of Suan Sunandha Arts and Culture
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารศิลปวัฒนธรรมสวนสุนันทา เป็นวารสารในรูปแบบเปิด (Open Access) ผู้ใช้ทั่วไปหรือระบบสารสนเทศของหน่วยงาน ฐานข้อมูลอัตโนมัติ ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ สามารถเข้าถึง ดาวน์โหลด เอกสารไฟล์บทความบนเว็บไซต์วารสาร โดยไม่มีค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด
ข้อความภายในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารศิลปวัฒนธรรมสวนสุนันทาทั้งหมด รวมถึงรูปภาพประกอบ ตาราง เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสารอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรอนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไข สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอน (Creative Commons License: CC) และ ต้องแสดงที่มาจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลง, Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และบุคลากร คณาจารย์ท่านอื่น ๆ ในราชวิทยาลัยฯแต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการ