การพัฒนาระบบบริหารจัดการความเสี่ยงด้านงบประมาณของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดเทศบาล

Main Article Content

ประทิน พันธา
อรุณ จุติผล
ธีระ รุญเจริญ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาของระบบบริหารจัดการความเสี่ยง ด้านงบประมาณ 2) พัฒนาระบบบริหารจัดการความเสี่ยงด้านงบประมาณ และ 3) ประเมินความเหมาะสม ของระบบบริหารจัดการความเสี่ยงด้านงบประมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็น ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษาฝ่ายงบประมาณ ครูผู้ปฏิบัติหน้าที่การเงิน/บัญชี และครูผู้ปฏิบัติหน้าที่การคลัง/พัสดุ จำนวน 164 คน จากสถานศึกษาขึ้นพื้นฐานในเขตจังหวัดภาคใต้ตอนบน 7 จังหวัด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี ลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น (PNI)

ผลการวิจัยพบว่า

1. สถานศึกษาสังกัดเทศบาลมีการดำเนินการบริหารระบบบริหารจัดการความเสี่ยงในระดับมาก ทั้งโดยภาพรวมและรายด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยคือ ด้านการจัดซื้อจัดจ้าง ด้านการบริหารงาน พัสดุและสินทรัพย์ ด้านการบริหารการเงิน และด้านการบริหารบัญชี ตามลำดับ และมีความเสี่ยงโดยเรียงลำดับ จากมากไปหาน้อย คือ ด้านการจัดซื้อจัดจ้าง ด้านการบริหารการเงิน ด้านการบริหารบัญชี และด้านการบริหาร งานพัสดุและสินทรัพย์ ตามลำดับ และมีปัญหาด้านต่าง ๆ ในระดับปานกลาง

2. ระบบบริหารจัดการความเสี่ยงด้านงบประมาณของสถานศึกษาสังกัดเทศบาล ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก คือ 2.1) การพัฒนาบุคลากรด้านบัญชีและการเงิน ได้แก่ (1) จัดส่งเจ้าหน้าที่การเงินและ บัญชีเข้ารับการอบรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้อย่างต่อเนื่อง (2) พัฒนาเจ้าหน้าที่การบัญชีให้มีความรู้ความสามารถ และความชำนาญในการปฏิบัติงานด้านบัญชีการเงินอยู่เสมอ (3) พัฒนาบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ ของเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีอย่างต่อเนื่อง 2.2) การพัฒนางานบัญชีและการเงิน ได้แก่ (1) จัดทำระเบียบ ปฏิบัติงานการบัญชีอย่างชัดเจน (2) จัดทำบัญชีการเงินที่เป็นปัจจุบันและตรวจสอบได้ (3) จัดทำเอกสารหรือ แบบฟอร์มการบริหารการเงินให้ถูกต้องชัดเจน 2.3) การพัฒนางานพัสดุและสินทรัพย์ ได้แก่ (1) จัดระบบการกำกับ ตรวจสอบ การบริหารงานพัสดุและสินทรัพย์อย่างถูกต้อง (2) จัดทำแนวทางการกำกับ ตรวจสอบ และประเมินผล การบริหารงานพัสดุและสินทรัพย์ที่ชัดเจน (3) จัดทำบัญชีพัสดุครุภัณฑ์และสินทรัพย์ที่เป็นปัจจุบันและง่ายต่อ การตรวจสอบ 2.4) การพัฒนางานจัดซื้อจัดจ้าง ได้แก่ (1) จัดให้มีเอกสารในการจัดซื้อจัดจ้างที่ถูกต้องครบถ้วน (2) จัดซื้อจัดจ้างให้เหมาะสมกับราคากลางที่กำหนด และ (3) จัดระบบการตรวจสอบภายในในกระบวนการ การจัดซื้อจัดจ้าง

3. ระบบบริหารจัดการความเสี่ยงที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากและสามารถ นำไปใช้ได้จริง

 

A Development of Risk Management for Budgeting System of The Basic Education Schools under The Municipality

The objectives of this research aimed to ;1) investigate the current condition and problem of risk management for budgeting system of The Basic Education Schools under The Municipality, 2) develop risk management for budgeting system, and 3) evaluate the suitability and possibility of the system. The 124 samples consisted of directors, assistant directors of budget, and teachers on duty in finance from basic education schools in 7 southern upper provinces. The instruments for data collecting are questionnaires. The statistics were analyzed by frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation and priority needs index. (PNI).

The findings were as follows:

1. The overall of basic education schools under the municipality have generated the risk management in high level, sequenced by the procurement, the asset management, financial management and account management. The finding problem of rink managements respectively are in medium level, sequenced are the procurement, financial management, account management and the asset management.

2. Risk management for budgeting system of The Basic Education Schools under the Municipality consists of four main components; 2.1) human resources development in finance and accounting by: (1) training the financial and accounting officer to enhance their knowledge continuously, (2) staffs development in their knowledge and expertise in operations, and (3) develop the roles and responsibilities of the financial and accounting officer. 2.2) accounting and financial development by: (1) preparation of account procedures explicitly, (2) prepare the financial accounts system in current and verifiable, and (3) prepare the documents of financial accounts form accurately. 2.3) the procurement and assets development by: (1) system monitoring, administration, procurement and assets correctly. (2) manual designed for the monitoring and evaluation of the administration, and (3) prepared the supply equipment to be current and easy to check. 2.4) the procurement development by: (1) the availability of documents on the procurement are accurate and complete, (2) procurement to be match with the actual price, and (3) monitoring system within the process of procurement.

3. The results of a development of the risk management for budgeting system of The Basic Education Schools under The Municipality have shown with suitability in high levels and can be used.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)