รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะตามมาตรฐานความรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการและกีฬา สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว ในทศวรรษหน้า
Main Article Content
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะตามมาตรฐานความรู้ของผู้บริหาร สถานศึกษาสังกัดกรมอาชีวศึกษา ในทศวรรษหน้า ผู้ให้ข้อมูลในการวิจัย ได้แก่ ผู้ให้ข้อมูลสัมภาษณ์ โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 20 คน ผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 66 คน ผู้เชี่ยวชาญประชุมกลุ่ม จำนวน 5 คน กรอบแนวคิดในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะตามมาตรฐานความรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการและกีฬา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในทศวรรษหน้า 5 ด้าน การวิเคราะห์ ข้อมูลนี้ได้สรุปจากการสัมภาษณ์ โดยจำแนกจัดกลุ่มข้อความคำสัมภาษณ์และวิเคราะห์เนื้อหา แล้วนำมาสร้าง แบบสอบถามเพื่อสอบถามความคิดเห็นผู้บริหาร การวิเคราะห์ข้อมูลจากสัมภาษณ์ วิเคราะห์หาค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่าง ควอไทล์ เป็นรายข้อ เพื่อพิจารณาเลือกในระดับมากขึ้นไปและสอดคล้องกันระหว่าง ความเห็นผู้เชี่ยวชาญ จากนั้นนำเสนอผลการวิจัยในรูปของตารางและความเรียงเกี่ยวกับการพัฒนาสมรรถนะ ตามมาตรฐานความรู้ การวิเคราะห์ปรับปรุงและตรวจสอบประสิทธิภาพร่างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะตาม มาตรฐานความรู้ของผู้บริหาร ในทศวรรษหน้า ผลการวิจัยเรื่อง รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะตามมาตรฐาน ความรู้ของผู้บริหารในทศวรรษหน้า พบว่า มีความต้องการพัฒนาอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงตามลำดับคือ ด้านการบริหารการประชาสัมพันธ์และความสัมพันธ์กับชุมชน ต้องการมีระบบจูงใจให้สถานประกอบการและ ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการอาชีวศึกษา และการฝึกอบรมวิชาชีพด้านการบริหารงานบุคคล ต้องมีการสรรหา บุคลากรทางการศึกษาที่มีประสิทธิภาพเข้ามาปฏิบัติงาน ด้านการบริหารทั่วไป ต้องมีการเข้าใจวิธีการปฏิบัติการ ในการทำงานแบบ ใหม่ ๆ และวางแผนการปฏิบัติงานได้ตรงตามวัตถุประสงค์ ด้านการบริหารกิจการนักเรียน ต้องมีการวัดการประเมินผล ด้านการเรียนรู้ในสถานศึกษา ด้านการบริหารงานวิชาการ ต้องมีการเน้นความสำคัญ ด้านความเป็นเลิศทางวิชาการและความคาดหวังสูงในการทำงาน
Developing A Competency Model of Vocational Institute Administrator Based on Knowledge Standards in the Next Decade Under the Department of Vocational Education Ministry of Education and Sports in Lao People’s Democratic Republic
The research aimed to create a development model of performance standards knowledge of school administrators under Department of Vocational Education, Ministry of Education and Sports: Laos PDR in the next decade. The population in the study composed of the informational interview by 20 experts, the respondents of 66 school administrators and 5 experts for focus group were managed The conceptual framework of the research came from the experts in 5 areas of the academic administration, the personnel management administrative student activities management, public relations and community relations. General management analysis of thesis information synthesized by expert interviews that classified in to grouping for interviews and content analysis. And to create a query to inquire opinion of school administrators were analyzed by the method of EDFR with median and the interquartile range. To consider the consensus among expert opinions presented in the form of tables and essays on the development of performance standards knowledge. To analyze and evaluate performance the development model compliance knowledge management in the next decade, by this stage, the process took the form of competency standards of knowledge management in the next decade.
The findings about the development model of performance-based knowledge administrators of the Department of Vocational Education Ministry of Education and Sports Laos in the next decade had found that the demand for development in the sequence were management, public relations and community relations. Need an incentive to enterprises and community involvement in the management of vocational and professional training were needed. The personnel management there should be an effective recruitment education into practice. General management needed to understand how to integrate new operations and operational planning to meet the objectives. Management of Student Affairs and evaluation must be measured by the aspect of learning in schools finally the academic administration should be greater emphasis on its academic excellence and high expectations in the school workplace.