รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโดยใช้หลักไตรสิกขา ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โดยใช้หลักไตรสิกขา ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 410 คน คัดเลือกโดยวิธีวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์และการศึกษาภาคสนามในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานดีเด่น จำนวน 3 โรงเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโดยใช้หลักไตรสิกขา ในสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การเตรียม ความพร้อม ประกอบด้วย 4 กิจกรรม 2) การพัฒนาขั้นศีล ประกอบด้วยกิจกรรมประจาวัน 17 กิจกรรม กิจกรรมประจำสัปดาห์ 4 กิจกรรม และกิจกรรมเสริม 4 กิจกรรม 3) การพัฒนาขั้นสมาธิ ประกอบด้วย กิจกรรมประจำวัน 5 กิจกรรม กิจกรรมประจำสัปดาห์ 2 กิจกรรม และกิจกรรมเสริม 1 กิจกรรม และ 4) การพัฒนา ขั้นปัญญา ประกอบด้วยกิจกรรมประจำวัน 4 กิจกรรม กิจกรรมประจำสัปดาห์ 1 กิจกรรม และกิจกรรมเสริม 2 กิจกรรม
The Model for Developing Desirable Characteristics of Students Using the Principles of Trisikkha in the Basic School Under the Office of the Primary Educational Service Area
The research aimed to develop the model for developing the desirable characteristics of the students by using the Principles of Trisikkha in the basic school under the Office of Primary Educational Service Area. There are 410 samples chosen by the mean of multistage random sampling and 35 experts. The tools used in research are questionnaire, interview and a case study in 3 schools. The statistics used for data analysis are percentage, mean, standard deviation and content analysis.
The research findings were as follows:
The results of the construct of a model, it was found that the model was composed of four main components: 1) the preparation stage consisted of 4 activities. 2) the mora stage development consisted of 17 daily activities, 4 weekly activities, 4 additional activities. 3) the meditation stage development consisted of 5 daily activities, 2 weekly activities, and 1 additional activity. And 4) The wisdom stage development consisted of 4 daily activities, 1 weekly activity and 2 additional activities.