รูปแบบการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์การในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก

Main Article Content

บัญชา สุริยะสุขประเสริฐ
สมาน อัศวภูมิ
พงษ์ธร สิงห์พันธ์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก 2) สร้าง รูปแบบการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์การในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก 3) ประเมินผลการนำรูปแบบการบริหาร คุณภาพทั่วทั้งองค์การในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กไปใช้ และ 4) ประเมินรูปแบบการบริหารคุณภาพทั่วทั้ง องค์การในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก โดยมีวิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 การศึกษา สภาพการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก ตอนที่ 2 การสร้างรูปแบบการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์การ ในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก ตอนที่ 3 การประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์การ ในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก และตอนที่ 4 การประเมินรูปแบบการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์การในโรงเรียน มัธยมศึกษาขนาดเล็ก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ ข้อมูลโดยสรุปหลอมรวมประเด็น ผลการวิจัย พบว่า

1. สภาพการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณา เป็นรายด้าน พบว่า ด้านเป้าหมายและทิศทางที่ชัดเจนมีระดับการปฏิบัติมากที่สุด และด้านการคำนึงถึงผู้รับบริการ เป็นสำคัญมีระดับการปฏิบัติน้อยที่สุด

2. รูปแบบการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์การในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก มีองค์ประกอบหลัก 3 องค์ประกอบ คือ 1) การมีเป้าหมายและทิศทางที่ชัดเจน 2) การควบคุมคุณภาพครบวงจร และ 3) การคำนึงถึง ผู้รับบริการเป็นสำคัญ

3. ผลการนำรูปแบบการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์การในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กไปใช้ พบว่า ก่อนนำรูปแบบไปใช้ระดับคุณภาพโดยรวมอยู่ในระดับพอใช้ โดยองค์ประกอบการมีเป้าหมายและทิศทาง ที่ชัดเจน มีระดับคุณภาพมากที่สุด หลังการนำรูปแบบไปใช้ระดับคุณภาพโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก โดยองค์ประกอบ การคำนึงถึงผู้รับบริการเป็นสำคัญมีระดับคุณภาพมากที่สุด

4. ผลการประเมินความเหมาะสม และความเป็นไปได้ของรูปแบบ พบว่า รูปแบบมีความเหมาะสม และมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน ส่วนผลการประเมินความเป็นประโยชน์ของรูปแบบ พบว่า ภาพรวมทั้งหมดอยู่ในระดับมากที่สุด

 

The Total Quality Management Model in Small Sized Secondary Schools

This purposes of this research were to : 1) study the condition in small sized secondary school 2) construct Total quality management model in small sized secondary schools 3) evaluate try-out Total quality management model in small sized secondary schools and 4) evaluate Total quality management model in small sized secondary schools. The research was conducted in 4 stages. Stage 1 was to study the condition in small sized secondary school by using qualified questionnaire with 130 people from 26 schools. Stage 2 was construct Total quality management model in small sized secondary schools. The confirmation of IOC by 19 experts. Stage 3 evaluate try-out Total quality management model in small sized secondary schools with a small sized secondary school in the Secondary Education Service Area office 33. Stage 4 was to evaluate Total quality management model in small sized secondary schools by 17 try-out team. The statistics used in data analysis consisted of basic statistics including average standard, and data analysis by points combine conclusion. The research finding were as follows :

1. The condition in smalls sized secondary school were in the middle level. There were Minimum operating level in service aspect.

2. The Total quality management model in small sized secondary schools consisted of 3 factors; 1) clear goal and direction aspect. 2) quality management system. And 3) service reminder aspect.

3. The results of using total quality management model in small sized secondary schools. The pre-experiment were in ‘fair’ level for experiment which the highest quality in clear goal and direction aspect. The post experiment was in ‘very good’ level which the most quality was service reminder aspect.

4. The results of appropriateness and possibility evaluation by expert found that the ‘most’ level was the appropriateness of model, while the possibility of model was in the ‘most’ level in all aspect same as model usefulness. In conclusion, the Total quality management model in small sized secondary schools was appropriateness, possibility and useful for small sized secondary schools administration in ‘most’ level.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)