แนวทางการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ที่มีประสิทธิผล

Main Article Content

ศรุต บุญโนนแต้
จิณณวัตร ปะโคทัง
อนุศักดิ์ เกตุสิริ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อการศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการของแนวทาง การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่มีประสิทธิผล 2) สร้างแนวทางการบริหาร งานวิชาการของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่มีประสิทธิผล 3) นำเสนอและประเมินแนวทาง การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่มีประสิทธิผล

ผลการวิจัย พบว่า

1. สภาพปัจจุบัน ของแนวทางการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ที่มีประสิทธิผล ในด้านปัจจัยนาเข้า (Input) มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนด้านกระบวนการ (Process) มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ด้านผลผลิต (Output) มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง และด้านกระบวนการบริหารงานวิชาการแบบ POLC มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง สภาพปัญหาและ ความต้องการของการบริหารงานวิชาการโดยรวมทุกด้าน พบว่า ขาดการกำหนดแผนและขั้นตอนการทำงาน มีการปรับเปลี่ยนนโยบาย และการไม่มีส่วนร่วมของครูและผู้เกี่ยวข้อง โดยมีความต้องการคือ การกำหนด แผนการทำงานและนโยบายที่ชัดเจน และให้ครูและผู้ที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน

2. แนวทางการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่มีประสิทธิผล ประกอบด้วย 4 แนวทางหลัก และ 10 แนวทางย่อย แนวทางหลัก ได้แก่ 1) แนวทางหลักด้านปัจจัยนำเข้า มีองค์ประกอบย่อย คือ ภาวะผู้นำทางวิชาการ 2) แนวทางหลักด้านกระบวนการ มีแนวทางย่อย ได้แก่ การพัฒนา หลักสูตร การพัฒนากระบวนการเรียนรู้และจัดการเรียนการสอน การวัดผล การประเมินผลและการเทียบโอน ผลการเรียน การพัฒนาสื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา การนิเทศการศึกษา และการประกันคุณภาพการศึกษา 3) แนวทางหลักด้านผลผลิต มีองค์ประกอบย่อย คือ ประสิทธิผลของแนวทางการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด 4) แนวทางหลักด้านข้อมูล มีองค์ประกอบย่อย ได้แก่ การรายงานผลและ ข้อเสนอแนะต่อผู้เกี่ยวข้อง นำผลการประเมินมาปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะ โดยในแต่ละองค์ประกอบ มีแนวดำเนินการ 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การวางแผน 2) การจัดองค์กร 3) การนำ และ 4) การควบคุม

3. ผลการนำเสนอและประเมินแนวทางการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดองค์การ บริหารส่วนจังหวัดที่มีประสิทธิผลโดยรวม พบว่า แนวทางการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดองค์การ บริหารส่วนจังหวัดที่มีประสิทธิผล มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ในระดับมากที่สุด

 

Guideline in Effective Academic Administration of Schools under Jurisdiction of the Provincial Administration Organization

The general objective of this research was to construction Guideline in Effective Academic Administration of Schools under Jurisdiction of the Provincial Administration Organization. There were three steps of the ; 1) Surveying an Effective Academic Administration of Schools under Provincial Administrative Organization, 2) Construction Guideline in Effective Academic Administration of Schools under Provincial Administrative Organization 3) Proposal and Evaluating Guideline in Effective Academic Administration of Schools under Provincial Administrative Organization.

The research results were as follows :

1. From the study of the current state, problems, and needs for in Effective Academic Administration of Schools under Provincial Administrative 1) Input is medium level 2) Process is high level 3) Output is medium level and POLC is medium level. The Problems are lack of planning and participations.

2. Guideline in Effective Academic Administration of Schools under Provincial Administrative consisted of 4 main factors and 10 sub-factors 1) Input consisted of academic leadership of administrator 2) Process consisted of consisted of curriculum development, learning process administration and development, learning assessment and evaluation, ICT development for learning and teaching process, supervision, and quality assurance and standard 3) Output consisted effectiveness of academic administrative For 4) feedback of this guideline there are two elements were employed included reporting, recommending, and editing.

3. The proposition and evaluation of the created guidelines for effectively administering academic administration of the schools resulted in the overall highest level of suitability, possibility, and utility.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)