ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการจัดการความรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1

Main Article Content

มารุต อุปนิสากร
สมาน อัศวภูมิ
จิณณวัตร ปะโคทัง

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการปฏิบัติ ปัญหาและสิ่งที่ต้องการรับการส่งเสริม ในการจัดการความรู้ในสถานศึกษา 2) เพื่อสร้างยุทธศาสตร์การส่งเสริมการจัดการความรู้ในสถานศึกษา และ 3) เพื่อประเมินยุทธศาสตร์การส่งเสริมการจัดการความรู้ในสถานศึกษา แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษา สภาพการปฏิบัติ ปัญหาและสิ่งที่ต้องการรับการส่งเสริมในการจัดการความรู้ในสถานศึกษา ระยะที่ 2 สร้าง ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการจัดการความรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 และระยะที่ 3 การประเมินความเหมาะสม และความเป็นไปได้ของยุทธศาสตร์การส่งเสริมการจัดการความรู้ ในสถานศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลใช้ การวิเคราะห์เนื้อหารวมประเด็นสำคัญ

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพการปฏิบัติในการส่งเสริมการจัดการความรู้ในสถานศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ในรายด้านนั้นพบว่า ยุทธศาสตร์ ที่ดำเนินการน้อยกว่าด้านอื่น คือ ยุทธศาสตร์การจัดเก็บความรู้ สภาพปัญหา ได้แก่ ครูมีความรู้ทางเทคโนโลยี สารสนเทศน้อย ครูขาดความกระตือรือร้นในการแสวงหาความรู้มาใช้ในการพัฒนางาน ครูส่วนใหญ่ขาดการจัดทำ และจัดหาสื่อ วิธีการใหม่ ๆ สิ่งที่ต้องการรับการส่งเสริม ได้แก่ ครูควรรับการอบรมทางสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ นำเทคโนโลยีมาใช้ในการแสวงหาความรู้ หาแนวทางวิธีการในการจัดหาความรู้มาพัฒนางาน ส่งเสริมการจัดทำ สื่อการสอน ใบความรู้ ใบงาน สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน จัดสถานที่ห้องทำงานให้มีสิ่งพิมพ์ และจัดเก็บอย่าง เป็นระบบ 2. ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการจัดการความรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานครพนม เขต 1 มีองค์ประกอบของยุทธศาสตร์ ดังนี้ 1) วิสัยทัศน์ คือ พัฒนาสถานศึกษาในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 สู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ และการพัฒนาที่ยั่งยืน 2) พันธกิจ 3 ข้อ ประกอบด้วย 1. ส่งเสริมให้การจัดการเรียนรู้เป็นวัฒนธรรมของสถานศึกษา

2. นำกระบวนการจัดการความรู้ มาใช้เพื่อพัฒนาระบบและกระบวนการทำงาน 3. มีฐานข้อมูลเพื่อการพัฒนาการเรียนการสอน 3) เป้าประสงค์ คือ พัฒนาสถานศึกษาในสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน สร้างเครือข่ายภายในและภายนอกสถานศึกษาเพื่อสนับสนุนการจัดการความรู้ 4) ยุทธศาสตร์ การส่งเสริมการจัดการความรู้ในสถานศึกษา มี 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการจัดหาและแสวงหาความรู้ ด้านการจัดเก็บ ความรู้ ด้านการเผยแพร่ความรู้ และด้านการนำความรู้ไปใช้

3. การประเมินความเหมาะสม และความเป็นไปได้ของยุทธศาสตร์การส่งเสริมการจัดการความรู้ ในสถานศึกษา โดยภาพรวมยุทธศาสตร์การส่งเสริมการจัดการความรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 พบว่า ยุทธศาสตร์ที่มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้มากที่สุด ในแต่ละด้าน ดังนี้ ด้านการเผยแพร่ความรู้ มีความเหมาะสมสูงสุด รองลงมาคือ ด้านการจัดหาและการแสวงหา ความรู้ และด้านการนำความรู้ไปใช้ ด้านการจัดเก็บความรู้มีเหมาะสมต่ำที่สุด ความเป็นไปได้สูงที่สุด คือ ด้านการจัดหาและการแสวงหาความรู้ รองลงมาคือ ด้านการจัดเก็บความรู้ ด้านที่ค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านการนำความรู้ไปใช้

 

Strategies to Promote Knowledge Management in Schools under the Jurisdiction of Nakornphanom Primary Educational Service Area, Office 1

The objectives of the research were 1) to study the states, problems, and needs for knowledge management promotion in the schools, 2) to formulate the strategies to promote knowledge management in schools, and to evaluate the strategies of knowledge management in the schools. The research was conducted in three phases. Phase one studied the states, problems, and needs for knowledge management promotion in the schools under the Jurisdiction of Nakornphanom Educational Service Area 1. Phase two, to constructed the strategies to promote knowledge management in schools. Phase three, the evaluation of suitability and possibility of the strategies. Statistics used in data analysis were mean, standard deviation and data content analysis.

The research findings were as follows.

1. The knowledge management promotion in the schools under the Jurisdiction of Nakornpanom Educational Service Area 1 as a whole was perceived as higher level, while knowledge storage or retention was perceived lower than other.

2. The strategies of knowledge management promotion consisted of the following: 1) vision: development of the schools in the study to the organization of learning and sustainable development; 2) mission: promotion of learning management as culture, use of the learning management process to develop the system, database as development of learning and teaching; 3) objectives: development of the schools in the study as the organization of learning and creation of the network inside and outside the schools to support the knowledge management; 4) strategies to promote knowledge management consisted of four aspects: procurement and pursuit of knowledge, knowledge storage, dissemination of knowledge to increase the person’s ideas and experiences through various channels, application of knowledge to maximize efficiency and effectiveness.

3. The evaluation of the model related to suitability, possibility and practicality of the strategies to promote knowledge management revealed that the strategies were most suitable and practical in all aspects: on dissemination: it was the most suitable. The strategies were found suitable in procurement and pursuit of knowledge, application, and retention. They were found most practical in terms of procurement and pursuit, followed by retention or storage. The aspect with a minimum value was application of knowledge.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)