แนวทางการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมของครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันด้านการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมของครู 2) เพื่อกำหนดแนวทางในการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมของครู และ 3) เพื่อประเมินแนวทางการพัฒนา คุณธรรมและจริยธรรมของครู เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสอบถามมีความเชื่อมั่น .95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบันด้านการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมของครูสังกัดสานักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า จริยธรรมด้านความรู้ ด้านพฤติกรรม และด้านเจตคติโดยภาพรวมมีการพัฒนา อยู่ในระดับมากแต่จริยธรรมทั้งด้านความรู้ ด้านพฤติกรรม และด้านเจตคติ ที่เกี่ยวกับจรรยาบรรณวิชาชีพและ มาตรฐานวิชาชีพอยู่ในระดับปานกลาง
2. แนวทางการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมของครู สังกัดสานักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย 1) การเรียนรู้ด้วยตนเองเกี่ยวกับจรรยาบรรณวิชาชีพและมาตรฐานวิชาชีพ เพื่อให้ครู รู้และเข้าใจข้อกำหนดเกี่ยวกับจรรยาบรรณวิชาชีพ มาตรฐานการปฏิบัติตน และแบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณ วิชาชีพครู ซึ่งพัฒนาโดยชุดฝึกอบรม 2) การฝึกประสบการณ์เน้นการฝึกในการปฏิบัติหน้าที่ตามจรรยาบรรณวิชาชีพ ตามมาตรฐานวิชาชีพ และตามแบบแผนพฤติกรรมจรรยาบรรณวิชาชีพครู เพื่อให้ครูปฏิบัติงานในหน้าที่ตามที่ได้รับ มอบหมายอย่างเต็มความสามารถ มีความซื่อสัตย์ เที่ยงธรรมและปฏิบัติตนโดยยึดวินัยข้าราชการครูและบุคลากร ทางการศึกษา ซึ่งพัฒนาโดยชุดการฝึกในขณะปฏิบัติงาน และ 3) การสร้างเจตคติที่ดี เน้นการสร้างความตระหนัก และเข้าใจในวิธีการปฏิบัติหน้าที่ตามจรรยาบรรณวิชาชีพและการปฏิบัติตนตามมาตรฐานวิชาชีพครูเพื่อให้ครู ละอายต่อการทำผิดจรรยาบรรณวิชาชีพครูเกรงกลัวต่อการทำผิดวินัยข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พัฒนาโดยชุดการศึกษากรณีตัวอย่าง
3. ผลการประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของแนวทางการพัฒนา คุณธรรมและจริยธรรมของครูสังกัดสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ทั้งภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด
The Moral and Ethical Development of Teachers Under the Office of Basic Education Commission
The purposes of this research were to 1) study the current state of the moral and ethical development of teachers under the jurisdiction of the Office of Basic Education Commission, 2) create the guidelines for developing the moral and ethics of teachers, and 3) evaluate the created guidelines. The instrument was a survey questionnaire with the reliability of .95. The statistics used in the data analysis consisted of means, standard deviation, and content analysis.
The research findings were as follows:
1. The current state of the overall moral and ethical development guidelines of teachers under the jurisdiction of the Office of Basic Education Commission was found to be at a high level in terms of knowledge, behaviors, and attitudes; however, those of the professional ethics and professional standards were at a moderate level.
2. The created guidelines for developing the moral and ethics of teachers included 1) self-learning about professional ethics and professional standards to help teachers know and understand professional ethical mandates, standards, and behavioral norms by a training package; 2) experience training focusing on duty practicum according to teacher professional ethics, professional standards, and behavioral norms in order that the teachers could perform their duty at the highest level of potential, honesty, justice, and disciplines through a practicum package; 3) attitude creation centering on awareness and understanding of how to perform duties according to professional ethics and professional standards to make the teachers feel ashamed of misconducts by a case study package.
3. The overall and individual aspects of the suitability, possibility, and utility of the guidelines were found to be at the highest level.