การพัฒนาบทเรียน E-learning รายวิชาการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียน e-learning รายวิชาการจัดการเรียนรู้สุขศึกษา และพลศึกษา ระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีในรูปแบบเว็บเพจผ่านทางเว็บไซต์ ของมหาวิทยาลัย http://elearning.cs-ubru.com 2) บทเรียน e-learning รายวิชาการจัดการเรียนรู้สุขศึกษา และพลศึกษามีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่ก่อนและ หลังเรียนด้วยบทเรียน e-learning และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียน e-learning กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา ชั้นปีที่ 4 จำนวน 43 คน ได้มาโดยการเลือก แบบเจาะจง (Purposive Sampling) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบลำดับพิสัยวิลคอกซอนผลการวิจัย พบว่า 1) บทเรียน e-learning รายวิชาการจัดการเรียนรู้ สุขศึกษาและพลศึกษา ระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ในรูปแบบเว็บเพจ ผ่านทางเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย http://elearning.cs-ubru.com มีเนื้อหาบทเรียน จำนวน 8 บท ได้แก่ ความรู้ พื้นฐานทางการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาจิตวิทยากับการจัดการเรียนรู้ การออกแบบการจัดการเรียนรู้ การบริหารและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน หลักในการดำเนินการและเทคนิคในการสอนแบบต่าง ๆ การทำบันทึก การจัดการเรียนรู้นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้ 2) บทเรียน e-learning รายวิชาการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.70/83.20 3) ผลการทดสอบหลังจากนักศึกษาได้เรียนด้วยบทเรียน e-learning รายวิชาการจัดการเรียนรู้ สุขศึกษาและพลศึกษา นักศึกษามีคะแนนมัธยฐานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการเรียนด้วยบทเรียน e-learning รายวิชาการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเรียนด้วยบทเรียน e-learning รายวิชาการจัดการเรียนรู้สุขศึกษา และพลศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมาก (μ = 4.34)
Development of E-learning Lesson for Under Graduated Students on Learning Management Health Education and Physical Education Subject Ubon Ratchathani Rajabhat University
The purpose of this research were to 1) develop an e-learning lesson on learning management health education and Physical education subject for under graduated students of Ubon Ratchathani Rajabhat University. 2) find out lesson efficiency with 80/80 criteria 3) compare learning achievement of under graduated students prior and after the experiment of learning with an e-learning lesson on learning management health education and Physical education subject and 4) study the satisfaction of under graduated students. The population used in this research were the four year under graduated students major of physical education program who register to learning management health education and Physical education subject 43 peoples selected by purposive sampling. The statistics used in data analysis were percentage, mean, standard deviation and Wilcoxon Signed Ranks Test. The research findings were 1) e-learning lesson on learning management health education and Physical education subject for under graduated students of Ubon Ratchathani Rajabhat University. This lesson has eight chapters include (1) Basic Knowledge of Learning Management for Health Education and Physical Education. (2) Psychology and Learning Management. (3) Plan Learning Management. (4) Classroom Learning Management. (5) Principle of Operation and Teaching Techniques (6) Report Learning Management. (7) Learning Management Innovations Management And (8) Measurement and Evaluation of learning Management. 2) The efficiency of e-learning lesson on learning management health education and Physical education subject was at 87.70/83.20, corresponding with 80/80 criteria. 3) Compared Median of learning achievement of under graduated students prior and after the experiment were different at a statistically significant level of .01 and 4) satisfaction of under graduated students who learned in e-learning lesson on learning management health education and Physical education subject were at a high level (μ = 4.34)