การวิเคราะห์โครงสร้างภาษาสําหรับ การเขียนโปรแกรมการท่องเที่ยวภาษาฝรั่งเศส

Main Article Content

ดนยา ด่านสวัสดิ์

Abstract

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนภาษาฝรั่งเศสเพื่อการท่องเที่ยว โดยมีวัตถุประสงค์ ๒ ประการ คือ ๑) รวบรวมคำนามหลักของนามวลีที่ใช้ในการอธิบายกิจกรรมการท่องเที่ยวในโปรแกรมการท่องเที่ยวภาษาฝรั่งเศส และ ๒) วิเคราะห์โครงสร้างนามวลีที่รวบรวมได้


กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือโปรแกรมการท่องเที่ยวประเทศไทยเป็นภาษาฝรั่งเศสที่ปรากฏอยู่บนเว็บไซต์ของบริษัทนำเที่ยวต่างประเทศที่มีชื่อเสียง จำนวน ๒๖ โปรแกรม ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบวิเคราะห์โครงสร้างคำนามรายคำ แบบประเมินค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาของแบบวิเคราะห์โครงสร้างคำนามรายคำ แบบประเมินค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาของแบบประเมินแบบวิเคราะห์โครงสร้างคำนามรายคำ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกและโปรแกรมสำเร็จรูปคอนคอร์แดนซ์ (Concordance : AntConc)


ผลการสำรวจพบคำนามหลักในนามวลีที่ใช้สื่อถึงกิจกรรมการท่องเที่ยวทั้งสิ้น ๓๖ คำ จากการวิเคราะห์ตามแนวทฤษฎี Sens-Texte พบว่านามวลีที่ปรากฏในบริบทการเขียนโปรแกรมการท่องเที่ยวนั้นมีโครงสร้าง๔ รูปแบบ ได้แก่ ๑) คำนาม ๒) คำนาม + นามวลี ๓) คำนาม + บุพบทวลี และ ๔) คำนาม + คุณศัพท์วลีนอกจากนั้นในนามวลีหนึ่ง ๆ อาจพบการปรากฏของโครงสร้างวลีเพียงวลีเดียวหรือหลาย ๆ วลีประกอบกันก็ได้


Cette recherche fait partie de l’étude pour améliorer l’apprentissage et l’enseignement de français du tourisme. Les buts de cette étude sont 1) de collecter le nom principal des phrases nominales décrivant des activités touristiques trouvées dans les itinéraires de voyage et 2) d’analyser les structures des phrases nominales collectées.


Les échantillons sélectionnés par échantillonnages dirigés viennent de 26 itinéraires de voyage en Thaïlande en français offertes en ligne par les agences de voyage étrangères célèbres. Les instruments de recherche se composent de formulaire d’analyse de structures des phrases nominales, de formulaire de validité de contenu par le biais des accords inter-juges du formulaire d’analyse de structures des phrases nominales, de formulaire de validité de contenu, d’entrevue et de programme Concordance (AntConc).


Les résultats sont les suivants : 36 noms principaux sont utilisés pour décrire des activités touristiques et ces noms sont ultérieurement analysés selon la théorie Sens-Texte. Les structures de ces phrases nominales se présentent sous 4 formes suivantes : 1) Nom, 2) Nom + groupe nominal, 3) Nom + groupe prépositionnel et 4) Nom + groupe adjectival. D’ailleurs, dans une phrase nominale, on peut trouver une ou plus d’une structure ci-dessus.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
บทความวิชาการ/บทความวิจัย