กิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกสําหรับผู้เรียนภาษาฝรั่งเศสระดับเริ่มต้น

Main Article Content

สิรจิตต์ เดชอมรชัย

Abstract

การจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ ๒๑ ได้ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้เชิงรุกที่เน้นการคิดวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการเรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาของผู้เรียน การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก โดยใช้ชิ้นงานเป็นฐานในรายวิชาภาษาฝรั่งเศสเพื่อการสื่อสาร ๒ (ฝ. ๒๐๙) ซึ่งเป็นรายวิชาสำหรับนักศึกษาระดับเริ่มต้น รวมจำนวน ๓๖ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ แบบสำรวจเจตคติที่มีต่อการเรียนภาษาฝรั่งเศส แบบประเมินตนเอง และแบบบันทึกการเรียนรู้ของผู้เรียน หลังการทดลองใช้แผนการจัดการเรียนรู้พบว่านักศึกษาส่วนใหญ่มีเจตคติต่อการเรียนภาษาฝรั่งเศสในระดับดี และเห็นว่ากิจกรรมการเรียนรู้เป็นประโยชน์อย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้ประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะที่หลากหลายในการสร้างชิ้นงาน ทั้งด้านภาษาฝรั่งเศส การคิดสร้างสรรค์ การแก้ปัญหา และการทำงานเป็นทีม


La nouvelle tendance de l’éducation du 21e siècle accorde une importance primordial à la pédagogie active qui vise à developer chez les apprenants les capacités liées à l’analyse, à la synthèse et à la résolution de problèmes. Cette recherche a pour but, d’une part, de vérifier de quelle façon appliquer la pédagogie active dans la pratique en classe et d’autre part, de mesurer les répercussions de la mise à l’essai de cette approche auprès de 36 étudiants inscrits au cours du Français de communication II. Dans le cadre du cours, nous avons opté pour des activités d’apprentissage basées sur des tâches. Les étudiants ont également été amenés à formuler des réflexions linguistiques et procédurales sur la production de leur travail, et ce, par le biais de fiches de travail et d’un journal de bord. Les résultats de cette recherche, dévoilés par l’analyse des données recueillies à partir de questionnaires, ont laissé entrevoir des attitudes positives chez nos apprenants à l’égard de l’organisation des activités et de l’apprentissage du français. Enfin, les étudiants se sont montrés satisfaits d’avoir appliqué activement les connaissances du français, les initiatives, le savoir–travailler en équipe ainsi que diverses compétences dans la réalisation de leurs tâches.

Article Details

Section
บทความวิชาการ/บทความวิจัย