การเขียนแนวมินิมอลลิสม์ในนวนิยายไตรภาคของอโกตา คริสตอฟ (Agota Kristof) เรื่อง บันทึกลับ (Le Grand Cahier) เรื่อง หลักฐาน (La Preuve) และเรื่อง เรื่องเท็จลําดับที่สาม (Le Troisième Mensonge)

Main Article Content

ขนิษฐา กองทิพย์ จารุพินทุโสภณ

Abstract

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาการเขียนแนวมินิมอลลิสม์ในนวนิยายไตรภาคของ อโกตา คริสตอฟ และจุดมุ ่งหมายที่ใช้การเขียนดังกล่าว บทความวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงเอกสาร โดยศึกษาเอกสารต่าง ๆ ทั้งที่เป็นภาษาฝรั่งเศส อังกฤษ และไทย นำข้อมูลมาวิเคราะห์เชิงวิจารณ์และประมวลผลเพื่อสรุปเป็นผลการวิจัย


มินิมอลลิสม์เป็นกระแสวรรณกรรมที่แพร่หลายเข้าสู่ยุโรปในช่วงทศวรรษ ๑๙๘๐ กระแสวรรณกรรมนี้ไม่ได้เป็นของสำนักวรรณกรรม ไม่ได้มาจากแถลงการณ์ของกลุ่มนักเขียนและไม่มีหลักปฏิบัติที่ชัดเจน หลักการที่สำคัญของมินิมอลลิสม์คือ การลดทอนองค์ประกอบในการสร้างงานศิลปะ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะเพิ่มพูนผลลัพธ์ที่ยิ่งใหญ่ ดั่งคติที่ว่า “น้อยคือมาก” (Less is more)


เมื่อผู้วิจัยวิเคราะห์นวนิยายไตรภาคเกี่ยวกับฝาแฝด ของอโกตา คริสตอฟโดยใช้หลักเกณฑ์ของจอห์น บาร์ธ (John Barth) และของฟีค ชอตส์ (Fieke Schoots) ก็พบว่านวนิยายชุดนี้มีองค์ประกอบของการเขียนแนวมินิมอลลิสม์ที่ครบถ้วน คริสตอฟใช้การเขียนแนวทางนี้เพื่อเป็นเครื่องมือในการสร้างลูกเล่นในการเล่าเรื่อง ทำให้เรื่องเล่าไม่ชัดเจน สามารถตีความได้หลากหลาย คุณค่าที่ตรงกันข้ามสามารถมาอยู่ร่วมกัน และลื่นไหลระหว่างกันจนไม่อาจแยกแยะได้เด็ดขาด นอกจากนี้ คริสตอฟ ยังใช้เทคนิคที่ทำให้เรื่องเล่าขาดเสถียรภาพ ทำให้เรื่องเล่าขัดแย้งกันเอง และจากสภาวะที่คลุมเครือและไม่มั่นคงนี้เอง ผู้ประพันธ์จะบิดผันก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ตรงกันข้ามกับสิ่งที่ปรากฏให้เห็น ความจริงที่โหดร้ายกลายเป็นสิ่งที่พอจะยอมรับได้ การเล่าเรื่องแบบไม่แสดงอารมณ์ความรู้สึก กลับกลายเป็นเรื่องเล่าสะเทือนอารมณ์ โดยเฉพาะเมื่อเกี่ยวกับสงคราม นอกจากนี้ยังสร้างพลวัตในตัวละครที่ทำให้เกิดพลังกับตัวละครที่มีอยู่อย่างจำกัด ตัวละครซึ่งเป็นชนชั้นล่างของสังคมสามารถเบียดแทรกขึ้นมาทัดเทียมชนชั้นปกครอง รวมถึงประชาชนที่ถูกกดขี่ข่มเหงจากผู้มีอำนาจรัฐยังสามารถตอบโต้ หรือวิพากษ์วิจารณ์การกระทำเหล่านั้นได้


Cette recherche vise à étudier l’écriture minimaliste dans la Trilogie d’Agota Kristof et les raisons pour lesquelles l’auteur utilise ce genre d’écriture. Notre article se base sur l’analyse textuelle pour dégager le message que l’auteur veut transmettre à travers son écriture. Les résultats de la recherche sont les suivants :


Le Minimalisme est un courant littéraire qui se répand en Europe dans les années 1980. Cette tendance ne relève pas d’une école littéraire particulière, n’ayant pas de règles strictes à respecter. Par ailleurs, ses auteurs ne prennent pas part aux débats théoriques. Le principe de cette écriture vise donc à réduire les procédés narratifs afin d’accentuer les effets créés, ce qui correspond à la célèbre formule « moins, c’est plus ».


Après avoir analysé la Trilogie d’Agota Kristof selon les critères proposés par John Barth et Fieke Schoots, nous trouvons que les procédés narratifs correspondent bien à l’écriture minimaliste. Kristof utilise ce style pour créer « des jeux » dans la narration, l’histoire devient ainsi imprécise, instable et peut être interprétée de plusieurs façons. Les valeurs contradictoires se juxtaposent et s’absorbent au point de devenir indistinctes. Kristof profite de cette situation pour faire en sorte que le fond diffère de l’apparence et que l’implicite crie plus fort que l’explicite. Ce phénomène conduit à la transgression de la limite et permet aux personnages qui sont démunis pour la plupart de s’accrocher à la vie et de mener une lutte discrète.


 

Article Details

Section
บทความวิชาการ/บทความวิจัย