การพัฒนาทักษะการพูดภาษาฝรั่งเศสด้วยการแสดงบทบาทสมมติสําหรับนักศึกษา วิชาเอกการจัดการการท่องเที่ยว คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

Main Article Content

ปิยจิตร สังข์พานิช

Abstract

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) พัฒนาทักษะการพูดภาษาฝรั่งเศสด้วยการแสดงบทบาทสมมติ สำหรับนักศึกษาวิชาเอกการจัดการการท่องเที่ยว คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม และ ๒) เปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักศึกษาด้วยนวัตกรรมที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้มาโดยวิธีเจาะจง คือ นักศึกษาวิชาเอกการจัดการการท ่องเที่ยว คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ในภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๗ จำนวนทั้งหมด ๑๒ คน ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาภาษาฝรั่งเศสเพื่อการสื่อสาร ๑ (FREN 1701) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้ ได้แก่ กิจกรรมการสนทนาภาษาฝรั่งเศสในชีวิตประจำวันด้วยการแสดงบทบาทสมมติ จำนวน ๕ สถานการณ์ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา ผู้วิจัยได้ทำการทดสอบก่อนเรียน และทดลองพัฒนาทักษะการพูดภาษาฝรั่งเศสด้วยการแสดงบทบาทสมมติ ทั้ง ๕ สถานการณ์ หลังการพัฒนาทักษะการพูดภาษาฝรั่งเศสด้วยการแสดงบทบาทสมมติ นักศึกษาทำแบบฝึกหัดท้ายบท ผู้วิจัยได้นำผล
คะแนนที่ได้จากแบบฝึกหัดทั้ง ๕ สถานการณ์มาหาค่าเฉลี่ยและเปรียบเทียบกับคะแนนจากการทำการทดสอบหลังเรียนซึ่งเป็นข้อสอบชุดเดียวกับแบบทดสอบก่อนเรียนเพื่อหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการพูด การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ๑) การพัฒนาทักษะการพูดภาษาฝรั่งเศสด้วยการแสดงบทบาทสมมติสำหรับนักศึกษาวิชาเอกการจัดการการท่องเที่ยว คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏ จันทรเกษมนี้ มีประสิทธิภาพ ๘๒.๓๓/๘๕.๑๗ และ ๒) นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นหลังจากได้รับการพัฒนาทักษะการพูดภาษาฝรั่งเศสด้วยการแสดงบทบาทสมมติที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น


Les buts de cette recherche sont de développer la compétence communicative en expression orale en français à l’aide de la simulation pour les étudiants de Tourisme de la Faculté de la Gestion, Université Rajabhat Chandrakasem et de comparer les résultats obtenus après cet apprentissage. L’échantillon est composé de douze étudiants de Tourisme de la Faculté de la Gestion choisis exprès au cours de français pour la communication 1 (FREN 1701) à l’Université Rajabhat Chandrakasem lors du deuxième semestre universitaire 2014. Les moyens utilisés pour cette recherche expérimentale étaient cinq leçons de français pour la communication dans la vie quotidienne et exercices de français à l’aide de la simulation, un pré-test et un post-test d’évaluation. Les données ont été analysées au moyen de pourcentage, moyenne et écart-type. Le résultat a montré que l’efficacité des leçons de français pour la communication dans la vie quotidienne et exercices de français à l’aide de la simulation était de 82.33 et 85.17 pour cent pour les exercices et le post-test, respectivement. La performance des étudiants s’est avérée meilleure après avoir suivi les leçons de français pour la communication dans la vie quotidienne et exercices de français à l’aide de la simulation. 

Article Details

Section
บทความวิชาการ/บทความวิจัย