การพัฒนาบทเรียนการอ‹านภาษาฝรั่งเศสอิงกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห‹งประเทศไทย เรื่อง “ประเพณีและวัฒนธรรมไทย” เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาวิชาเอก ภาษาฝรั่งเศสธุรกิจ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
Main Article Content
Abstract
การพัฒนาบทเรียนการอ่านภาษาฝรั่งเศสอิงกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งประเทศไทยเรื่อง “ประเพณีและวัฒนธรรมไทย” เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาวิชาเอกภาษาฝรั่งเศสธุรกิจ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม มีวัตถุประสงค์ คือ ๑. เพื่อพัฒนาบทเรียนการอ่านภาษาฝรั่งเศสอิงกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งประเทศไทย เรื่อง “ประเพณีและวัฒนธรรมไทย” ๒. เพื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักศึกษา และ ๓. เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้มาโดยวิธีเจาะจง คือ นักศึกษาวิชาเอกภาษาฝรั่งเศสธุรกิจ ในภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๖ จํานวนทั้งหมด ๙ คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้ ได้แก่ บทเรียนการอ่านภาษาฝรั่งเศส อิงกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งประเทศไทยื่อง “ประเพณีและวัฒนธรรมไทย” ทั้งหมด ๑๐ บทเรียน แบบทดสอบและแบบสอบถามระดับความพึงพอใจของนักศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ๑. บทเรียนการอ่านภาษาฝรั่งเศสอิงกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งประเทศไทย เรื่อง “ประเพณีและวัฒนธรรมไทย” มีประสิทธิภาพ ๘๔.๕๕/๘๔.๔๔ ๒. นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นหลังจากเรียนด้วยบทเรียนการอ่านที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ๓. นักศึกษามีความพึงพอใจต่อบทเรียนการอ่านภาษาฝรั่งเศสเรื่อง“ประเพณีและวัฒนธรรมไทย” ในระดับมาก
Les buts de cette recherche sont de développer les leçons de lecture française selon les normes du cadre thaï de qualification sur la coutume et la tradition thaï, de comparer
les résultats obtenus après cet apprentissage et d’étudier le niveau de satisfaction des étudiants relatives aux leçons étudiées. L’échantillon est composé de neuf étudiants choisis exprès au sein de la section de français des affaires de l’Université Rajabhat Chandrakasem lors du premier semestre universitaire 2013. Les moyens utilisés pour cette recherche expérimentale étaient dix leçons et exercices de français aux normes du cadre thaï de qualification sur la coutume et la tradition thaï, un pré-test d’évaluation en lecture du français et un questionnaire de satisfaction. Les données ont été analysées au moyen de pourcentage, moyenne et écart-type. Le résultat a montré que l’efficacité des leçons de lecture française était de 84.55 et 84.44 pour cent pour les exercices et le post-test, respectivement. La performance des étudiants s’est avérée meilleure après avoir suivi les leçons de lecture française et les exercices. Le niveau de satisfaction des étudiants relatives aux leçons étudiées était positive voire très positive.