การศึกษาข้อผิดพลาดด้านการใช้คําคุณศัพท์ภาษาฝรั่งเศสในงานเขียนของนักศึกษาสาขาภาษาฝรั่งเศสธุรกิจ ชั้นปีที่ ๒ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ มหาวิทยาลัยนานาชาติในประเทศไทย

Main Article Content

ประภา ศรีแสวงทรัพย์

Abstract

งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาข้อผิดพลาดด้านการใช้คําคุณศัพท์ภาษาฝรั่งเศสในงานเขียนของนักศึกษาวิชาเอกภาษาฝรั่งเศสธุรกิจ ชั้นปีที่ ๒ จากทั้งภาคการศึกษาที่ ๑ และ ๒ ของปีการศึกษา ๒๕๕๙ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ซึ่งมีจํานวนรวม ๒๕ คน


ผลการศึกษาข้อผิดพลาดด้านการใช้คําคุณศัพท์ภาษาฝรั่งเศสที่พบในงานเขียนเรียงความและข้อสอบรวม ๑๕๐ ชิ้นงาน มีทั้งหมด ๒๔๘ แห่ง ผู้วิจัยพบว่าข้อผิดพลาดดังกล่าวสามารถจําแนกตามลักษณะความผิดพลาดได้เป็น ๔ กลุ่มตามกรอบแนวคิดของ Dulay, Burt and Krashen (๑๙๘๒) ซึ่งสอดคล้องกับข้อผิดพลาดของนักศึกษามากที่สุด กล่าวคือ ๑. การใช้คําตกหล่น (Omissions) ๒. การเพิ่มส่วนที่ไม่จําเป็น (Additions) ๓. การใช้คําผิดรูปแบบ (Misinformations) และ ๔. การเรียงลําดับคําผิด(Misorderings) ผู้วิจัยพบว่าสาเหตุที่เกิดข้อผิดพลาดเหล่านี้ เนื่องมาจากอิทธิพลของภาษาไทย การเข้าแทรกแซงของภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาที่ใช็สื่อสารในการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยนานาชาติแห่งนี้รวมถึงพื้นฐานความรู็ทางไวยากรณ์ของนักศึกษาและกลยุทธ์ที่นักศึกษาใช้ในการเรียนภาษาต่างประเทศ


การศึกษาข้อผิดพลาดด้านการใช้คําคุณศัพท์ภาษาฝรั่งเศสในงานเขียนสะท้อนให้เห็นปัญหาในการเรียนและการเขียนของนักศึกษาได้ชัดเจนขึ้นซึ่งจะทําให้เกิดประโยชน์ต่อการหาแนวทางปรับปรุงแก้ไขการเรียนการสอนภาษาเขียนฝรั่งเศสและก่อให้เกิดการวางรากฐานการเขียนที่ถูกต้องให้แก่นักศึกษา


Cette étude a pour but d’étudier les erreurs fréquentes des adjectifs qualificatifs dans les productions écrites des étudiants de FLE de l’ université internationale de l’Assomption où l’anglais est la langue de communication et d’enseignement. Ces erreurs ont été collectées dans les compositions et les épreuves écrites (Total 150 exemplaires)de 25 étudiants de deuxième année du cours Communication écrite de français des affaires. Les 248 fautes trouvées ont été classées et analysées d’après les quatre catégories de taxonomie de Dulay, Burt et Krashen (1982) : 1. l’omission 2. l’ajout 3. le mauvais emploi et 4. le mauvais placement. Au terme de cette recherche qualitative, nous avons trouvé que ces erreurs
étaient influencées par le transfert de la langue première (L1 = le thaï) ou de la langue seconde (L2 = l’anglais) à la langue cible, par les stratégies d’apprentissage et par le manque
de connaissances grammaticales des étudiants. Cette recherche explique aux enseignants de français pourquoi les étudiants font fréquemment ces fautes écrites. Enfin,
elle contribuera à une meilleure méthode pédagogique pour aider nos apprenants à mieux comprendre cette grammaire et à améliorer leur qualité de l’ écrit.

Article Details

Section
บทความวิชาการ/บทความวิจัย