การเรียนการสอนภาษาฝรั่งเศสของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์สู่ศตวรรษที่ ๒๑
Main Article Content
Abstract
บทความนี้กล่าวถึงการเรียนการสอนภาษาฝรั่งเศสของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์สู่ศตวรรษที่ ๒๑ โดยศึกษาความสําคัญของปัญหา สภาพการเรียนการสอนภาษาฝรั่งเศสของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์พร้อมแสดงถึงจุดแข็งและเสนอแนะจุดที่ควรพัฒนาของหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต วิชาเอกภาษาฝรั่งเศส รวมถึงแรงจูงใจที่นิสิตเลือกเรียนภาษาฝรั่งเศสและวัตถุประสงค์ของหลักสูตรสาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส บทความนี้ยังกล่าวถึงแนวโน้มการเรียนการสอนภาษาฝรั่งเศสของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และแสดงการวิเคราะห์เปรียบเทียบรายวิชาด้านงานอาชีพที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในประเทศไทย ตลอดจนเสนอแนวโน้มและทิศทางการจัดการเรียนการสอนภาษาฝรั่งเศสของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์สู่ศตวรรษที่ ๒๑ โดยศึกษาสถานภาพและทักษะที่จําเป็นของผู้เรียน บทบาทของครูผู้สอน การจัดการเรียนการสอนและการวัดประเมินผลในศตวรรษที่ ๒๑
Cet article traite de l’enseignement du français à l’université Kasetsart au ๒๑e siècle. Il étudie les problèmes d’enseignement et d’apprentissage ainsi que les points forts et les éléments du cursus de licence (majeur français) qui doivent être développés. Il s’intéresse également aux motivations des étudiants et aux objectifs du cursus. Cet article examine de même les tendances dans l’enseignement du français à l’université Kasetsart et fournit une analyse comparative des matières professionnelles enseignées dans les universités thaïlandaises, les rôles des enseignants, la gestion et l’évaluation de l’enseignement au XXIe siècle.