การพัฒนาทักษะการฟัง–การพูดภาษาฝรั่งเศสของนิสิตชั้นปีที่ ๑ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Main Article Content

อารีรัตน์ ปิ่นทอง

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการฟัง–การพูดภาษาฝรั่งเศสของนิสิตชั้นปีที่ ๑ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำนวน ๓๑ คน โดยเป็นกลุ่มทดลองที่ใช้ในการศึกษาผลการใช้แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการฟัง–การพูดภาษาฝรั่งเศส จำนวน ๑๔ คนและกลุ่มควบคุม จำนวน ๑๗ คน ในการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยได้ให้กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมทำแบบทดสอบก่อนเรียน (Pre-test) และทดลองใช้แผนการจัดการเรียนรู้กับกลุ่มทดลองจำนวน ๓๐ ชั่วโมง หลังจากนั้นให้ทั้ง ๒ กลุ่ม ทำแบบทดสอบหลังเรียน Post-test ผลการวิจัยพบว่า ๑) คะแนนทดสอบทักษะการฟัง–การพูด หลังการจัดการเรียนรู้ (Post-test) ของนิสิตในกลุ่มทดลองสูงกว่าคะแนนก่อนการเรียน (Pre-test) ๒) นิสิตในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมต้องการพัฒนาทักษะการฟัง–การพูดในส่วนที่เกี่ยวกับเรื่องความรู้ทางวัฒนธรรม ความรู้ด้านศัพท์ และการจับใจความสำคัญของข้อความ และ ๓) นิสิตในกลุ่มทดลองมีความเห็นว่าการจัดการเรียนรู้นี้ช่วยให้มีความกระตือรือร้นและสามารถพัฒนาทักษะการฟัง–การพูดได้ดีขึ้น นอกจากนี้จากการสนทนากลุ่ม(Focus Group) นิสิตให้ความเห็นว่าการอ่านจากหนังสือหลาย ๆ ประเภทจะเอื้อต่อการได้รับข้อมูลในการนำมาใช้ในการสนทนาและการจัดกิจกรรมในชั้นเรียนควรมีหัวข้อสนทนาที่มีความทันสมัยตรงกับความสนใจของผู้เรียน


Cet article a pour but d’étudier le résultat de la mise à l’essai d’unité pédagogique visé à développer la compréhension à l’ écoute et l’expression orale des 31 étudiants à la faculté des sciences humaines de l’université Kasetsart. Les étudiants ont été divisés en 2 groupes. Le groupe test comprenait 14 étudiants du programme choisi en vue d’améliorer leurs compétences à l’oral ou à l’écoute. Ces 17 étudiants restant composaient le groupe de contrôle. Chaque groupe subit un prétexte puis le groupe test suivi 30 heures de l’unité pédagogique. Ces deux groupes ont passé ensuite un post-test. Ces résultats montrent que 1) Les résultats du post-test furent meilleurs pour le groupe test que ses résultats au prétest. 2) Les étudiants des 2 groupes devaient améliorer leurs compétences à l’oral ou à l’écoute notamment leurs connaissances culturelles, lexicales et leur capacité à saisir les principaux points d’un texte entendu. 3) Les étudiants du groupe test convinrent que le programme pédagogique les avait aidés à améliorer leurs compétences à l’oral et à l’écoute.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
บทความวิชาการ/บทความวิจัย