สังคมไทยและชาวสยามในมุมมองของชาวฝรั่งเศส จากหนังสือประวัติศาสตร์ธรรมชาติและการเมืองแห่งราชอาณาจักรสยาม ของ นิโกลาส์ แชร์แวส

Main Article Content

พันธ์จิต ดวงจันทร์

Abstract

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเรื่องสังคมไทยและชาวสยามในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ ๑๗ จากหนังสือประวัติศาสตร์ธรรมชาติและการเมืองแห่งราชอาณาจักรสยาม ของ นิโกลาส์ แชร์แวส โดยศึกษาข้อมูลที่ผู้เขียนได้บันทึกไว้ศึกษาทัศนคติ มุมมองของผู้เขียนที่มีต่อสังคมไทยและชาวสยามในสมัยนั้น รวมทั้งเปรียบเทียบกับเอกสารฝรั่งเศสร่วมสมัยที่มีการบันทึกถึงสยามผลการศึกษาพบว่า เรื่องสังคมไทย แชร์แวสบันทึกเรื่องระบอบการเมืองการปกครอง พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ ระบบขุนนาง และราษฎรในราชอาณาจักร ส่วนเรื่องชาวสยาม แชร์แวสกล่าวถึงรูปร่างหน้าตา การแต่งกายของชาวสยาม วิถีชีวิตวัฒนธรรมประเพณี และความเชื่อของชาวสยามอย่างไรก็ดี ข้อมูลเรื่องสังคมไทยและชาวสยามที่แชร์แวสบันทึกไว้ เมื่อศึกษาและวิเคราะห์พบว่าข้อมูลบางเรื่องนั้น แชร์แวสยังมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนรวมทั้งแสดงทัศนะและมุมมองตามแบบที่ตนเข้าใจอย่างไรก็ตาม หนังสือเล่มนี้นับว่าเป็นผลงานที่มีคุณค่า ทำให้เกิดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสังคมไทยและชาวสยามในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ ๑๗ โดยผ่านทัศนคติและมุมมองของชาวตะวันตกที่เข้ามาสยามในสมัยดังกล่าว 


Cet article a pour objectif de dresser un rapide tableau du Siam et des Siamois au XVIIe siècle d’après l’ouvrage de Nicolas Gervaise, Histoire naturelle et politique du Royaume de Siam. L’étude de ce livre nous
permet de constater que, dans un premier temps, l’auteur fait une présentation du Siam en notant le système politique en place et son organisation, le pouvoir du roi, les mandarins et leur rôle dans la société, et les différents peuples présents dans le royaume. Dans un second temps, on trouve une description très détaillée des Siamois sur leur apparence physique et leur portrait, leur façon de s’habiller et leur mode de vie, leur culture et leurs croyances. Tous les renseignements que Gervaise a minutieusement notés sont importants mais ne correspondent pas toujours à la réalité de l’époque car il avait sa propre vision (celle d’un Européen) et ne connaissait pas suffisamment le Siam et la culture siamoise de ce siècle. Son œuvre reste néanmoins une source précieuse. Sa vision qu’il fait du Siam et des Siamois à cette époque nous permet de mieux connaître le royaume et ses habitants. Et par la même occasion, Gervaise véhicule les idées occidentales, par ses écrits, qui arrivent au Siam dans le courant du XVIIe siècle.

Article Details

Section
บทความวิชาการ/บทความวิจัย