ความต้องการ และแนวโน้มการเรียนภาษาฝรั่งเศสของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ในโรงเรียน ๑๔ จังหวัดภาคใต้

Main Article Content

ศิริมา ปุรินทราภิบาล
อรุณศรี ชาญสมุห์

Abstract

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษา ความต้องการเรียนภาษาฝรั่งเศสในระดับ อุดมศึกษาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายจาก โรงเรียนใน ๑๔ จังหวัดภาคใต้ และ ๒) ศึกษา แนวโน้มการจัดการเรียนการสอนภาษาฝรั่งเศส ในระดับอุดมศึกษาในภาคใต้ กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนแผนการเรียนภาษาฝรั่งเศสที่กำ ลังเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔, ๕ และ ๖ ภาคการศึกษา ที่ ๒ ปี การศึกษา ๒๕๕๓ จากโรงเรียนมัธยมศึกษา ๓๒ โรงเรียน ใน ๑๔ จังหวัดภาคใต้ จำ นวน ๕๔๙ คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลาย ขั้นตอน โดยกำ หนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างและ คัดเลือกแบบเจาะจงในขั้นแรก และการสุ่มตัวอย่าง แบบบังเอิญโดยให้นักเรียนจับสลากในขั้นที่สอง เครื่องมือวิจัยคือแบบสอบถาม ผลการวิจัย พบว่านักเรียนที่เรียนภาษาฝรั่งเศสในระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ ๔, ๕ และ ๖ ใน ๑๔ จังหวัดภาคใต้ร้อยละ ๓๗.๔๒ ต้องการเรียนภาษาฝรั่งเศส ต่อในระดับอุดมศึกษา ร้อยละ ๕๒.๕๕ ยังไม่แน่ใจ โดยนักเรียนต้องการเรียนภาษาฝรั่งเศสต่อในระดับ อุดมศึกษาเพราะอยากมีพื้นความรู้ทางภาษาฝรั่งเศส เพื่อการศึกษาต่อในอนาคตมากที่สุด รองลงมา เพราะชอบประเทศฝรั่งเศส ภาษาและวัฒนธรรม ฝรั่งเศส และภาษาฝรั่งเศสมีประโยชน์ต่อการ ทำ งานในอนาคต นักเรียนเหล่านี้คิดว่าการเรียนการ สอนภาษาฝรั่งเศสในระดับอุดมศึกษาควรเน้น เนื้อหาด้านการแปล/ล่าม (ค่าเฉลี่ย ๔.๔๖) ด้าน การทูต (ค่าเฉลี่ย ๔.๔๒) ด้านการ ท่องเที่ยวและ การโรงแรม (ค่าเฉลี่ย ๔.๓๕) ด้านภาษาและ ไวยากรณ์ (ค่าเฉลี่ย ๔.๒๘) ภาษาฝรั่งเศสเพื่อ วิชาชีพครู (ค่าเฉลี่ย ๔.๑๗) และด้านธุรกิจและ การค้า (ค่าเฉลี่ย ๔.๑๒)


Cet article a pour but d’examiner 1) les besoins de l’apprentissage du français chez les apprenants des écoles secondaires dans les quatorze provinces du Sud de la Thaïlande et 2) les tendances dans l’enseignement et l’apprentissage du français dans les universités dans cette région. L’échantillon est constitué de 549 apprenants de français des 32 écoles secondaires dans le Sud de la Thaïlande lors du deuxième semestre de l’année scolaire 2010. Deux techniques d’échantillonnage sont respectivement mises en œuvre: l’échantillonnage aléatoire stratifi é pour la première étape et l’échantillonnage aléatoire simple pour la deuxième. Et le questionnaire est utilisé comme matériel de recherche. Cette recherche montre que 37.42% des apprenants désirent continuer à apprendre le français à l’université alors que 52.55% d’eux en sont incertains. Ceux qui veulent continuer le français à l’université ont justifié leur choix par de différentes raisons. Pour la plupart, les connaissances de français acquises à l’université leur seront utiles pour les études supérieures (59.0%), certains aiment cette langue et sa culture (56.2%) et d’autres pensent aux avantages du français pour la recherche d’emploi dans le futur (52.5%). De plus, ces apprenants envisagent que l’enseignement du français à l’université mette l’accent sur le français sur objectifs spécifi ques (FOS) comme le français pour le traducteur et l’interprète (x ̅ =4.46), le français de la diplomatie (x ̅ =4.42), le français du tourisme et de l’hôtellerie (x ̅ =4.43), la langue et la grammaire (x ̅ =4.28), le français pour l’enseignant (x ̅ =4.17), le français des affaires et du commerce (x ̅ =4.12).

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
บทความวิชาการ/บทความวิจัย