วิสามานยนามในภาษาฝรั่งเศสและภาษาไทย; กรณีการนํามาใช้เชิงอุปลักษณ์

Main Article Content

อังศุมารินทร์ ต่อมดวงแก้ว

Abstract

นภาษาฝรั่งเศส การใช้คําวิสามานยนามในบริบทของการสื่อสารแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ ๆคือ การใช้แบบปกติและการใช้แบบพิเศษ การใช้วิสามานยนามเชิงอุปลักษณะเป็นหนึ่งในการใช้แบบพิเศษที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในชีวิตประจําวันโดยเฉพาะในหนังสือพิมพ์ ปรากฏการณ์ทางภาษาชนิดนี้สามารถพบได้เช่นกันในภาษาไทย ในการตีความหมายเพื่อให้เข้าใจประโยคหรือบทอ่านที่ปรากฏคําวิสามานยนามเชิงอุปลักษณะ จะต้องใช้ทั้งความสามารถทางภาษาและความรู้ทางวัฒนธรรม เพื่อระบุการใช้เชิงอุปลักษณ์และเชื่อมโยงความหมายที่ประโยคหรือบทอ่านต้องการสื่อให้ถูกต้อง ดังนั้นวิสามานยนามเชิงอุปลักษณ์อาจจะเรียกได้ว่าเป็นคําศัพท์เชิงวัฒนธรรมที่น่าสนใจสําหรับการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศเพราะการเรียนภาษาเพื่อให้เข้าใจในตัวภาษาอย่างลึกซึ้งนั้น จะต้องเรียนรู้วัฒนธรรมที่แฝงมากับตัวภาษานั้น ๆ ไปพร้อมกัน


En français, l’emploi de nom propre dans la communication se divise en deux grands types; l’emploi non modifié et l’emploi modifié. L’emploi métaphorique du nom propre est un des différents types de l’emploi modifié qui est très productif quotidiennement surtout dans le discours de presse. Ce phénomène langagier existe également en thaï. Pour interpréter une phrase ou un texte abritant un nom propre métaphorique, on devrait avoir non seulement la compétence linguistique mais aussi la connaissance culturelle afin de reconnaître cet emploi spécifique. Le nom propre métaphorique peut être considéré comme lexique culturel qui s’avère très intéressant pour l’apprentissage de la langue étrangère. Pour approfondir l’apprentissage d’une langue étrangère, il est inévitable d’apprendre la culture véhiculée par cette langue.

Article Details

Section
บทความวิชาการ/บทความวิจัย