La littérature en miroir dans Le Vol d’Icare de Raymond Queneau

Main Article Content

Chananao VARUNYOU

Abstract

Le Vol d’Icare (1968) เป็นนวนิยายที่สะท้อนปัญหาของงานวรรณกรรมในสมัยศตวรรษที่ ๑๙ โดยการนําเสนอภาพนักเขียนหลายสไตล์ที่ประสบอุปสรรคในการเขียนนวนิยาย เหตุเพราะตัวละครของพวกเขาพอใจที่จะออกมาใช้ชีวิตจริงนอกตัวบทโดย ผู้แต่งไม่สามารถควบคุมบทบาทของตัวละครเหล่านี้ได้ แนวคิดเกี่ยวกับอิสรภาพของตัวละครในลักษณะนี้ Queneau ได้แนวคิดมาจากบทละครที่ชื่อ Six personnages en quête d’auteur ของ Pirandello Le Vol d’Icare เป็นนวนิยายที่ปฏิเสธความเป็นนวนิยาย กล่าวคือ แทนที่จะสร้างภาพมายาว่าผู้อ่านกําลังอ่านเรื่องเล่าที่สมจริงเรื่องหนึ่ง Queneau กลับให้ความสําคัญกับช่วงเวลาของการเขียนชีวิตตัวละครนอกตัวบทกลับกลายเป็นแก่นเรื่องหลัก โลกของตัวละครและโลกของผู้แต่งกลับทับซ้อนกันจนหาเขตพรมแดนไม่ได้ จนท้ายที่สุดงานเขียนเล่มนี้ก็จบลงด้วยปมปริศนา ประโยคที่ว่านวนิยายเล่มนี้ได้จบลงแล้ว เป็นคําพูดของใครกันแน่

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
บทความวิชาการ/บทความวิจัย