ชุดการสอนภาษาและวัฒนธรรมไทย เรื่องนำเที่ยวเกาะรัตนโกสินทร์ สำหรับผู้เรียนชาวต่างประเทศ
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างชุดการสอนภาษาและวัฒนธรรมไทย เรื่องนำเที่ยว เกาะรัตนโกสินทร์ สำหรับผู้เรียนชาวต่างประเทศ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ ๘๐/๘๐ โดยศึกษารวบรวมข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสร้างชุดการสอน การสอนภาษา และวัฒนธรรม และโบราณสถานที่สำคัญในเกาะรัตนโกสินทร์ ชุดการสอนภาษาและวัฒนธรรมไทย เรื่องนำเที่ยวเกาะรัตนโกสินทร์ สำหรับผู้เรียนชาวต่างประเทศนี้ ประกอบด้วย (๑) ชุดการสอนสำหรับ ผู้เรียนซึ่งมีบทเรียนจำนวน ๖ บท ได้แก่ เกาะรัตนโกสินทร์ พระบรมมหาราชวัง พระอารามหลวง ศาสนสถาน อนุสรณ์สถาน และสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ แหล่งการค้าและการพาณิชย์ (๒) คู่มือครู และ (๓) สื่อประกอบการสอน หลังจากนั้น ผู้วิจัยนำชุดการสอนไปดำเนินการทดลองเพื่อหาประสิทธิภาพกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนที่เรียนวิชาภาษาและวัฒนธรรมไทยในฐานะภาษาต่างประเทศในระดับสูง ระดับชั้น 2nde และ 1ère จำนวน ๑๒ คน ของโรงเรียนฝรั่งเศสนานาชาติกรุงเทพ เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยปรากฏว่า ชุดการสอนภาษาและวัฒนธรรมไทย เรื่องนำเที่ยวเกาะรัตนโกสินทร์ สำหรับผู้เรียนชาวต่างประเทศ มีประสิทธิภาพ ๘๖.๖๖/๘๘.๖๑ ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ จึงสามารถนำไปใช้ประกอบการเรียนการสอนภาษาไทยให้แก่ชาวต่างชาติได้
Cette étude vise à réaliser un ensemble didactique basé sur les sites touristiques situés sur l’île Rattanakosin. Elle s’adresse aux apprenants de Thaï langue étrangère. Elle vise à évaluer l’efficacité de cet ensemble. Ce dernier comprend (1) un livre d’élèves dont le contenu est divisé en 6 chapitres: l’île Rattanakosin, le Grand Palais, les temples royaux, les lieux de culte, les monuments historiques et commémoratifs, et les marchés. (2) un guide pédagogique de l’enseignant. (3) un CD-ROM comme support pédagogique.
La première partie de l’étude porte sur l’intérêt de la création de la méthode. Elle repose sur la pertinence sociale, scolaire, et personnelle du chercheur. La deuxième partie est constituée par les notions de l’ensemble didactique ainsi que les avantages de cette étude. En ce qui concerne la troisième partie, elle présente la méthodologie pour collecter des données et analyser les résultats obtenus. Pour conclure, nous énoncerons des propositions indispensables pour les futurs chercheurs qui souhaiteraient reprendre ce type de méthode. Enfin il y aura une discussion lors du travail d’étude.