ภาพลักษณ์ของเด็กฉลาดเกินวัย “ลู แบร์ติญัก” ในนวนิยายเรื่อง “ฉันกับโน” ของเดลฟีน เดอ วิกอง

Main Article Content

นิชุตา บุญขำ

Abstract

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้อานเข้าใจ ลักษณะเด็กฉลาดเกินวัยซึ่งเป็นเด็กที่มีลักษณะเด่น และด้อยตางจากเด็กทั่วไปอย่างชัดเจนผ่านลู แบร์- ติญัก (Lou Bertignac) ซึ่งเป็นตัวละครหลักและเป็นเด็กฉลาดเกินวัยในนวนิยายเรื่อง “ฉันกับโน” (No et moi) ของเดลฟีน เดอ วิกอง (Delphine de Vigan) นักเขียนรวมสมัยชาวฝรั่งเศสที่ตีพิมพ์ เมื่อปีค.ศ. ๒๐๐๗


ลูเป็นเด็กฉลาดเกินวัยที่สามารถเข้าใจเรื่องที่ สลับซับซ้อนได้รวดเร็วและล้ำหน้าเด็กวัยเดียวกัน อีกทั้งสามารถจินตนาการเรื่องราวพิสดารต่าง ๆ ได้อย่างน่าอัศจรรย์ แต่กลับไม่เข้าใจเรื่องธรรมดาสามัญและทำอะไรง่าย ๆ หลายอยางที่เด็กวัยเดียวกับเธอทำได้ เธอจึงรู้สึกว่าตนเองแปลกแยกและแตกตางไปจากผู้อื่นจนไม่อาจอยู่ร่วมกับเพื่อนร่วมชั้นได้แต่มิใช่ว่าลูจะประสบปัญหานี้ตลอดไป เพราะลูมีสติปัญญาที่ล้ำหน้าเกินวัย เธอจึงสามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคมและโลกแห่งความเป็นจริงได้ เพียงแต่กว่าลูจะเข้าใจชีวิตอย่างแท้จริง เด็กฉลาดเกินวัยอย่างเธอต้องผ่านประสบการณ์อันเลวร้าย ต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจปัญหาต่าง ๆ ด้วยตนเอง


Cet article présente les émotions et l’imagination d’une enfant précoce. Il nous parle du roman « No et moi » de Delphine de Vigan, écrivaine française, publié chez JeanClaude Lattès en 2007


Cet article décrit les émotions et l’imagination de Lou, une enfant précoce, le personnage principal de ce roman. Elle est capable de comprendre clairement tout ce qui paraît compliqué pour les enfants du même âge et elle peut imaginer des situations complexes différentes. Cependant, elle ne peut pas faire ce que les autres enfants du même âge font quotidiennement. Elle pense qu’à l’intérieur d’elle-même quelque chose lui fait défaut. Elle n’arrive pas à se faire des relations avec d’autres enfants de son âge.


Par ailleurs, il montre aux lecteurs ses problèmes psychologiques qui sont d’origine familiale. Ce sont les grands problèmes de la société moderne. On connaît bien aujourd’hui ces problèmes et force nous est de constater que la famille reste et restera toujours la cellule de base de notre société.

Article Details

Section
Research Articles