Les techniques d’explication grammaticale et lexicale de l’enseignant dans une classe de français à l’Université Burapha
Main Article Content
Abstract
จากการสังเกตการเรียนการสอนชั้นเรียนวิชาภาษาฝรั่งเศส มหาวิทยาลัยบูรพา พบวาผู้สอนเน้น การอธิบายเนื้อหาการเรียนการสอนเป็นหลัก แต่อย่างไรก็ตามปัญหาความไม่เข้าใจเนื้อหาสามารถเกิดขึ้นได้กับผู้เรียนภาษาฝรั่งเศส ซึ่งสงผลกระทบต่อการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ เมื่อผู้เรียนประสบปัญหาความไม่เข้าใจเนื้อหา ผู้เรียนไมสามารถโต้ตอบกับผู้สอนได้และไม่สามารถตอบคำถามได้อย่างถูกต้อง เพื่อแก้ไขปัญหาความไม่เข้าใจเนื้อหาของผู้เรียน ผู้สอนจึงต้องใช้เทคนิคการอธิบายไวยากรณ์ฝรั่งเศสและการอธิบายคำศัพท์ที่หลากหลาย เช่น การอธิบายคำศัพท์ภาษาฝรั่งเศส โดยการแปลเป็นภาษาไทย การใช้ภาษาอธิบายภาษา (metalinguistics) หรือการสร้างสถานการณ์สมมุติในชั้นเรียนภาษาฝรั่งเศส (fiction in a French classroom) เป็นที่น่าสังเกตว่าการใช้เทคนิคการอธิบายไวยากรณ์และคำศัพท์ของผู้สอน มีผลต่อกระบวนการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนภาษาฝรั่งเศสอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ กล่าวคือเทคนิคการอธิบายบางอย่างสามารถทำให้บรรยากาศการเรียนการสอนน่าสนใจ แต่ในทางตรงกันข้าม เทคนิคบางอย่างไม่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีโอกาสได้แสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน ทำให้ผู้เรียนภาษาฝรั่งเศสมีลักษณะที่เรียกว่า “ผู้รับ” มากเกินไป (passif students) ดังนั้น ผู้สอนจึงต้องระมัดระวังการใช้เทคนิคการอธิบายไวยากรณ์ ฝรั่งเศสและคำศัพท์ในชั้นเรียนเป็นอย่างสูง เทคนิค การอธิบายที่ใช้ต้องมีความ “ยืดหยุน” และสามารถ ประยุกต์ให้ใช้การได้กับสถานการณ์การเรียนการสอนแบบต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้สอนไม่สามารถใช้เทคนิคการอธิบายไวยากรณ์ฝรั่งเศสและ คำศัพท์อย่างใดอย่างหนึ่งได้กับทุกบริบทของการเรียนการสอน เพราะเทคนิคการอธิบายแบบหนึ่งที่มีประสิทธิภาพในบริบทหนึ่งอาจไม่สามารถใช้ได้ดี ในอีกบริบทหนึ่งที่แตกตางกันออกไป ดังนั้นผู้สอน จึงจำเป็นต้องมีเทคนิคการอธิบายที่หลากหลาย เพื่อให้การเรียนการสอนบรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งเอาไว้ การถ่ายทอดความรู้จะไม่ประสบผลสำเร็จ หากปัญหาความไมเข้าใจเนื้อหาบทเรียนของผู้เรียนไม่ได้รับการแก้ไขอย่างทันท่วงที