แนวทางการพัฒนาสหกิจศึกษาสาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส กรณีศึกษานิสิตคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

Main Article Content

วิไล ศิลปอาชา
ศิรพัชร์ ฌานเชาว์วรรธน์

Abstract

บทความวิจัยชิ้นนี้มุ่งศึกษาเชิงสังเคราะห์ และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการเรียนการสอนภาษาฝรั่งเศสกับการปฏิบัติวิชาชีพใน สถานประกอบการแบบสหกิจศึกษา รวมถึงศึกษาวิเคราะห์ผลการประเมินการปฏิบัติวิชาชีพในสถาน ประกอบการของนิสิตสาขาวิชาภาษาฝรั่งเศสในโครงการสหกิจศึกษา เพื่อหาแนวทางพัฒนาสหกิจศึกษาสาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส ทั้งนี้ยังไม่เคยมีการเสนอแผนการพัฒนาสหกิจศึกษาและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับสหกิจศึกษาด้านสาขาวิชาภาษาฝรั่งเศสอย่างเป็นรูปธรรมในประเทศไทย ข้อมูลที่ใช้ในงานวิจัยนี้ได้แก่ เอกสารที่เกี่ยวข้องกับ การประเมินผลการปฏิบัติงานของนิสิตสหกิจศึกษารายงานการปฏิบัติวิชาชีพ และการสัมภาษณ์นิสิต สหกิจศึกษาที่ปฏิบัติวิชาชีพในปีการศึกษา ๒๕๕๐– ๒๕๕๓ สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้เน้นให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติวิชาชีพแบบสหกิจศึกษามาอย่างต่อเนื่อง และได้สนับสนุนให้นิสิตพัฒนาโครงงานสหกิจศึกษาอย่างจริงจัง


ผลการวิจัยในภาพรวมพบว่า สถานประกอบการมีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของนิสิตสหกิจศึกษาในระดับดีมีนิสิตสหกิจศึกษาสาขาวิชาภาษาฝรั่งเศสที่ประสบความสำเร็จได้รับรางวัลในระดับต่าง ๆ ดังนี้ ปีการศึกษา ๒๕๕๐ นิสิตสหกิจศึกษาสาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส ซึ่งปฏิบัติวิชาชีพที่บริษัท Club Med Phuket, Holliday Villages Ltd. ได้รับคัดเลือกระดับคณะเป็นตัวแทนเข้าแข่งขันโครงงานสหกิจได้รับรางวัลยอดเยี่ยม ระดับมหาวิทยาลัยฯในปี ๒๕๕๒ นิสิตสหกิจศึกษา สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส ซึ่งทำงานในตำแหน่งผู้ช่วย ผู้จัดการฝ่ายบริหาร นิตยสารกราวรอช (Gravroch Magazine) บริษัท พีเอชแอนด์พีเอชได้รับคัดเลือกให้เป็นตัวแทนจากมหาวิทยาลัยฯ และได้รับรางวัลยอดเยี่ยมระดับเครือขายภูมิภาค ด้านโครงการสาขา สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์จากสมาคมสหกิจศึกษาแห่งประเทศไทย ทั้งนี้จากงานวิจัยยังพบว่า นิสิตส่วนหนึ่งตระหนักว่า ในขณะที่ปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการ ตนยังไม่มีความพร้อมด้านข้อมูลเชิงสังคม วัฒนธรรม และทักษะการใช้ภาษา ฝรั่งเศสอยูในระดับที่น่าพอใจ งานวิจัยชิ้นนี้ยังแสดงให้เห็นว่าการพัฒนาสหกิจศึกษาของสาขาวิชาภาษา ฝรั่งเศส จนสามารถนำไปสู่ความสำเร็จดังกล่าว มีปัจจัยเกื้อหนุนหลายด้าน ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดของทั้งสถานประกอบการสถาบันศึกษา และนิสิต ซึ่งสอดคล้องกับปรัชญาของสหกิจศึกษา ในสวนของบทสรุปและข้อเสนอแนะ ผู้วิจัยได้นำเสนอแนวทางซึ่งมุงไปที่การปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนภาษาฝรั่งเศสในฐานะภาษาตางประเทศไปสูการเรียนการสอนที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะด้าน1 ที่สามารถประยุกต์ใช้เพื่อสร้างสรรค์โครงการของนิสิตสหกิจศึกษา


En 2002, le Bureau de la commission pour l’éducation supérieure auprès du Ministère de l’éducation en Thaïlande a manifesté son intérêt pour la promotion de l’« éducation coopérative », notamment pour le développement des capacités des apprenants, grâce à des expériences de 4 mois directement acquises dans le monde du travail. Le programme de formation coopérative est créé par un accord entre l’université et l’entreprise. Les apprenants doivent en plus créer un projet spécifique répondant au besoin de l’entreprise. Nous espérons que cette formation aidera les apprenants à s’adapter aux problèmes posés dans le monde du travail.


Dans cette communication, nous présenterons en premier lieu les motivations de ce projet de recherche. En second lieu, nous exposerons notre travail de recherche sur les bénéfices et les problèmes des étudiants ayant accompli leur stage entre 2007 et 2010 dans les entreprises francophones qui participaient à l’« éducation coopérative ». Nous nous appuierons sur trois types de sources : les documents officiels de notre faculté concernant les projets des étudiants en français pendant leur pratique professionnelle, les rapports de stage des apprenants, et des entretiens menés auprès des deux acteurs principaux : les responsables des entreprises et les étudiants. Profitant de notre position privilégiée de professeur-conseillers du stage et d’enseignantes de la faculté, nous chercherons notamment à analyser les points forts et les points faibles de ce programme. Dans notre conclusion, nous viserons à apporter aux responsables des formations des points de repère leur permettant de mieux adapter leurs offres de formation aux situations réelles de la vie active des futurs diplômés.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
Research Articles