L’analyse reflexive des activités pédagogiques lors du Programme de Soutien à la Réussite de l’Éléve (PSRÉ) à la lumiére de la zone proximale du développement (ZPD)

Main Article Content

Sawarin WIROJCHOOCHUT

Abstract

บทความชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อวิเคราะห์กิจกรรมการเรียนการสอนภาษาฝรั่งเศสที่จัดให้แก่นักเรียนชาวเปรูและชาวโคลัมเบียสองคนที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนประถมแห่งหนึ่งของควิเบกโดยอาศัยหลักทฤษฎีการเรียนรู้ในพื้นที่รอยต่อพัฒนาการ (la zone proximale de développement) ของ Vygotsky เป็นแนวทางสำคัญ หลักการดังกล่าวของ Vygotsky เน้นว่าการจัดการเรียนการสอนควรคำนึงถึงระดับพัฒนาการสองระดับ คือ ระดับพัฒนาการจริง (le développement acruel) และระดับพัฒนาการที่เด็กสามารถทำได้ (le développement potentiel) ระยะห่างระหว่างระดับพัฒนาการทั้งสองขั้นนี้เองคือพื้นที่รอยต่อพัฒนาการของเด็ก กล่าวอีกนัยหนึ่ง พื้นที่รอยต่อพัฒนาการนี้คือกระบวนการขณะที่เด็กกำลังพัฒนาจากภาวะที่ยังไม่สามารถทำงานที่ยากขึ้นให้สำเร็จได้โดยลำพังด้วยข้อจำกัดของความรู้แต่หากได้รับความช่วยเหลือหรือคำแนะนำจากผู้ใหญ่หรือเพื่อนร่วมวัยที่เก่งกว่าเด็กจะสามารถทำงานที่ได้รับมอบหมายนั้นให้สำเร็จลุล่วงได้ ผลการวิเคราะห์การเพิ่มพูนทักษะภาษาฝรั่งเศสตลอดระยะเวลาสองเดือนของการเข้าร่วมกิจกรรมของนักเรียนทั้งสองพบว่ากิจกรรมการเรียนการสอนที่จัดขึ้นโดยอาศัยหลักการของ Vygotsky ช่วยเพิ่มพูนทักษะภาษาฝรั่งเศสของนักเรียน และช่วยลดข้อจำกัดในการเข้าใจเนื้อหาเรื่องยากๆ จนนักเรียนสามารถทำงานตามที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จได้ในที่สุด

Article Details

Section
งานวิจัย