Sentiment Index of SMEs in Leading Industries in Chiang Mai Province

Main Article Content

ชัยวุฒิ ตั้งสมชัย

Abstract

Business Warning Center (Northern Region) has been conducting Chiang Mai Small and Medium Sized Enterprises Sentiment Index since the third quarter of 2009. The survey was conducted using quarterly data collect from the repeated samples of small and medium sized enterprises (SMEs) in six major industries of Chiang Mai province. Those industries include hand-weaving cloth, wood handicraft, processed agricultural products, vehicle maintenance, food and beverage, and tourist accommodation. The index is quarterly published locally and nationally and categorized by overall SME’s sentiment and by industries. There are 6 dimensions included and presented in the index consisting of total sales, operation capacity, operation cost, net profit, labor hiring, and investment. This sentiment index is classified as a leading indicator presenting the changes of business direction, which can be used as an early warning system on a quarter basis. The index can be beneficial to users such as SME entrepreneurs and policy makers responsible for promoting SMEs in rendering them information for better business decisions and more efficient policy-making.

 

ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม สำหรับกลุ่มธุรกิจหลักในจังหวัดเชียงใหม่

ศูนย์เตือนภัยทางธุรกิจภาคเหนือได้จัดทำดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ของจังหวัดเชียงใหม่ โดยสำรวจข้อมูลของผู้ประกอบการ SMEs เป็นรายไตรมาสตั้งแต่ไตรมาส 3 ปี พ.ศ. 2552 เป็นต้นมา สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมที่เป็นกิจกรรมหลักทางเศรษฐกิจในจังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วย 6 กลุ่ม คือ กลุ่มการผลิตผ้าทอและ เครื่องนุ่งห่มจากผ้าทอ กลุ่มการผลิตหัตถกรรมจากไม้ กลุ่มการผลิตสินค้าเกษตรแปรรูป กลุ่มการบริการซ่อมบำรุงรถยนต์ กลุ่ม การบริการอาหารและเครื่องดื่มและกลุ่มการบริการธุรกิจที่พักสำหรับนักท่องเที่ยวมีการเผยแพร่ผลดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจต่อสาธารณชนในจังหวัดและในระดับประเทศ โดยแสดงทั้งในภาพรวม แบ่งตามประเภทอุตสาหกรรม และแบ่งตามองค์ประกอบของธุรกิจ เช่น ยอดขายโดยรวม การใช้กำลังการผลิต ต้นทุนการประกอบการ กำไรสุทธิ การจ้างงาน และการลงทุนเพิ่ม ดัชนี ความเชื่อมั่นทางธุรกิจนี้มีคุณสมบัติเด่นในการเป็นตัวชี้นำ และแสดงทิศทางการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ สามารถใช้เป็นระบบ เตือนภัยทางธุรกิจล่วงหน้าเป็นรายไตรมาส ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการหรือผู้วางแผนเชิงนโยบายเพื่อส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม มีฐานข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจหรือกำหนดนโยบายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

How to Cite
ตั้งสมชัย ช. (2013). Sentiment Index of SMEs in Leading Industries in Chiang Mai Province. Executive Journal, 33(2), 72–79. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/executivejournal/article/view/80773
Section
Academic Articles