The Local Wisdom on Flood Management in Low-income Communities
Main Article Content
Abstract
Two informal settlements, Klong Bung Pai and Klong Bua Kwan, are located on the high risk locations. They are vulnerable to flood because of insecurity of tenure, uncertain income and fragile housing. These limit their capacity to cope with flood. However, the communities attempt to deal with this natural disaster by themselves in many ways. From a survey during June–July 2012, two strategies of flood management were implemented, which are 1) living with flood, and 2) flood prevention. Four conditions were set as the analytical frame work fragile environment, low-income levels, social relationship within community, and lack of disaster preparedness.
Firstly, to avoid moving out of communities during flooding, many residents collectively maintained community’s allotments. They also experimentally created both floating and hanging allotments. Moreover, they kept fish and frogs which normally serve as their daily income to be fresh cooking materials during the flood. Both settlements plan to improve the community centre and make it easy to be the evacuation centre when necessary. It would also install drinking water tank, toilet and kitchen in high ground to avoid flooding, in which elder residents, patients and children could temporarily stay during disaster. Secondly, each household created different flood prevention measures; for example, some residents built their house walls with flood prevention materials and some planned to lift up their ground above the level of flooding. The communities levelled their main community pathway and some houses built plank bridges connecting to their home. The people in Klong Bua Kwan helped each other to clean up the canal. Both settlements joined other low income settlements in the network called Slum Sae Paak to fight for security of tenure. They commonly agree that the land ownership is a vital foundation of housing development which can reduce the vulnerabilities to natural disaster sustainably. In addition, they hope to attend the government housing development program which would help them achieve housing improvement. This can sustainably decrease their vulnerabilities to health, economy and ways of living.
การจัดการน้ำท่วมด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชนรายได้น้อย
ชุมชนคลองบึงไผ่และคลองบัวขวัญตั้งอยู่บนพื้นที่เสี่ยงต่อน้ำท่วม และมีปัจจัยความเปราะบางอื่นๆ เช่น ความไม่มั่นคงในการอยู่อาศัย รายได้ที่ไม่แน่นอน และกายภาพบ้านที่ไม่แข็งแรง เป็นผลให้ความสามารถในการจัดการน้ำท่วมของชุมชนอยู่ในระดับจำกัด อย่างไรก็ตาม ชุมชนก็มีความพยายามที่จะรับมือกับน้ำท่วมด้วยวิธีการต่างๆ จากการสำรวจในช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม 2555 ด้วยการทำผัง การถ่ายภาพ และการสัมภาษณ์ พบว่าชุมชนทั้งสองแห่งมีระบบการจัดการน้ำท่วมสองแนวทาง คือ 1) การเตรียมรับมือเพื่ออยู่ร่วมกับน้ำ และ 2) การป้องกันน้ำ ภายใต้กรอบการวิเคราะห์ 4 คุณลักษณะ คือ สภาพแวดล้อมที่เปราะบาง ระดับรายได้ที่ต่ำ ความไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวในทางสังคมของชุมชน และการขาดความเตรียมพร้อมรับมือต่อภัยธรรมชาติ
ในแนวทางการเตรียมเพื่ออยู่ร่วมกับน้ำท่วมได้โดยไม่ต้องย้ายหนี ชาวบ้านส่วนหนึ่งได้ตกลงทำแปลงผักชุมชนทั้งลอยน้ำและลอยฟ้าทั้งยังเลี้ยงปลาเลี้ยงกบ กล่าวคือในยามปกติจะเป็นแหล่งรายได้ แต่ในช่วงน้ำท่วมแหล่งอาหารสดเหล่านี้เป็นวัตถุดิบในการทำอาหาร ทั้งสองชุมชนมีแผนปรับปรุงศูนย์ชุมชนเป็นบ้านพักพิงชั่วคราวสำหรับคนแก่และเด็ก โดยติดตั้งถังน้ำดื่มขนาดใหญ่ ห้องน้ำและครัวกลางของชุมชนในระดับที่สูงน้ำท่วมไม่ถึง สำหรับแนวทางป้องกันน้ำท่วมแต่ละครัวเรือนจะมีวิธีการที่แตกต่างกัน เช่น การใช้ผนังบ้านเป็นกำแพงกั้นน้ำ การยกพื้นบ้าน ส่วนในชุมชนมีการปรับระดับทางเดินหลักและสร้างสะพานเชื่อมเข้าสู่แต่ละบ้าน การขุดลอกคลองและทางระบายน้ำ เป็นต้น ชุมชนทั้งสองแห่งได้เข้าเป็นสมาชิกเครือข่ายสลัมสี่ภาคอันเป็นเครือข่ายของชุมชนรายได้น้อยที่ตั้งรกรากบนที่ดินของผู้อื่น เพื่อร่วมกันต่อสู้เพื่อให้ได้สิทธิการได้เช่าที่ดินได้ถูกต้องตามกฎหมาย ชุมชนทั้งสองแห่งเห็นตรงกันว่า การเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินจะเป็นฐานรากที่สำคัญในการพัฒนาที่อยู่อาศัยจะช่วยลดความเปราะบางต่อภัยพิบัติอย่างยั่งยืนได้ นอกจากนั้นแล้ว ชุมชนทั้งสองแห่งคาดหวังที่จะได้เข้าร่วมโครงการการพัฒนาที่อยู่อาศัยที่มั่นคง ซึ่งจะนำมาสู่การปรับปรุงกายภาพของบ้านที่ถาวร อันจะเป็นการช่วยลดความเปราะบางทั้งด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ และความเป็นอยู่เพื่อให้เกิดการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืนมากขึ้น
Article Details
The manuscript submitted for publication must be the original version, submitted only to this particular journal with no prior acceptance for publication elsewhere in other academic journals. The manuscript must also not violate the copyright issue by means of plagiarism.