Tax Management of The Revenue Department
Main Article Content
Abstract
This paper describes the new approach for tax collection and management using Compliance Risk Management (CRM). CRM is a tax collection and management procedure which categorizes tax payers based on characteristics and behaviors, using appropriate risk management tools in order to encourage tax payers of each group to fulfill their tax duties and to prevent any non-compliance. It consists of tax collecting procedures, and tax collecting preparation using Thai risk management principles within designated timeframe. Previously, with the old approach for tax collection and management, the Revenue Department audits documents after tax payers have submitted their tax filing. The time taken for audition is usually long, resulting in incomplete work and a large number of incomplete tax debt collections. With this new method using Compliance Risk Management, the Revenue Department will select appropriate tools according to the tax payers’ behaviors. The tax payers can volunteer to be good tax payers by making agreements with the Revenue Department, which, in turn will support tax payers by transferring tax knowledge, providing tax supervision, tax return and in-time consultation. It will utilize supporting network such as accounting companies with new TA and quality CPA, providing consultation and auditing services before tax filing. This will result in tax filing with more accuracy. The new approach for tax collection and administration is necessary in order to prepare Thailand for the free trade system, AFTA and for AEC in 2015. Implementation of this new approach will help solving existing problems and dealing with international trade conditions and will minimize unfair advantages or disadvantages. It will also help developing the Revenue Department to become one of the advanced tax collecting organizations in the Region.
การบริหารจัดเก็บภาษีอากรของกรมสรรพากร
บทความนี้กล่าวถึงแนวทางการบริหารจัดเก็บภาษีอากรแนวใหม่ นั่นคือ การบริหารจัดเก็บภาษีอากรโดยหลักการบริหารความเสี่ยง ซึ่งเป็นกระบวนการบริหารจัดเก็บภาษี โดยใช้วิธีการแบ่งกลุ่มผู้เสียภาษีตามลักษณะและพฤติกรรม และเลือกใช้เครื่องมือบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม เพื่อกระตุ้นให้ผู้เสียภาษีแต่ละกลุ่มปฏิบัติหน้าที่ทางภาษีอากรได้ถูกต้อง และป้องกันการไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ทางภาษี ประกอบด้วยขั้นตอนการจัดเก็บภาษี และการเตรียมการจัดเก็บภาษีอากรโดยหลักการบริหารความเสี่ยงของไทยตามกรอบระยะเวลาการดำเนินการ เนื่องจากการจัดเก็บภาษีแบบเก่า กรมสรรพากรต้องทำการตรวจสอบภายหลังจากผู้เสียภาษียื่นแบบแสดงรายการ ต้องใช้ระยะเวลาตรวจสอบนาน โดยประสบปัญหางานค้างและการเร่งรัดหนี้ภาษีอากรค้างจำนวนมาก แต่การบริหารจัดเก็บภาษีอากรแนวใหม่ โดยหลักการบริหารความเสี่ยง เป็นหลักการบริหารจัดเก็บภาษีที่กรมสรรพากรจะเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับพฤติกรรมของผู้เสียภาษี ซึ่งเป็นโครงการที่ให้ผู้ประกอบการที่สมัครใจจะเป็นผู้เสียภาษีที่ดีทำข้อตกลง โดยกรมสรรพากรจะใช้เครื่องมือส่งเสริมให้ความรู้ด้านภาษี การกำกับดูแล การคืนภาษีอากร และการให้คำปรึกษาอย่างทันท่วงที โดยมีเครือข่ายสนับสนุน เช่น สำนักงานบัญชีคุณภาพจะมี New TA และ CPA ที่มีคุณภาพ เพื่อให้คำปรึกษาด้านภาษีอากร และการตรวจสอบด้านภาษีก่อนการยื่นแบบเสียภาษี ซึ่งจะทำให้การยื่นเสียภาษีมีความถูกต้องมากที่สุด นโยบายการบริหารการจัดเก็บภาษีอากรแนวใหม่มีความจำเป็นเพื่อรองรับระบบเขตการค้าเสรี AFTA และ AEC ในปี พ.ศ. 2558 เพื่อจัดการกับปัญหาหรือเงื่อนไขของการค้าระหว่างประเทศที่ทำให้การได้เปรียบหรือเสียเปรียบหมดไปหรือมีน้อยที่สุด และเพื่อพัฒนาองค์กรให้ก้าวสู่การเป็นหน่วยงานจัดเก็บภาษีชั้นแนวหน้าในภูมิภาคต่อไป
Article Details
The manuscript submitted for publication must be the original version, submitted only to this particular journal with no prior acceptance for publication elsewhere in other academic journals. The manuscript must also not violate the copyright issue by means of plagiarism.