กระบวนการเสริมพลังชุมชนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกาแฟสดกระชายดำของบ้านท่าศาลา ตำบลท่าศาลา อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในกระบวนการเสริมพลังชุมชนกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และศึกษาแนวทางสร้างกระบวนการเสริมพลังชุมชนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกาแฟสดกระชายดำของบ้านท่าศาลา ตำบลท่าศาลา อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed method) คือ เชิงปริมาณ เครืองมือคือ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างจำนวน 160 คน วิเคราะห์และประมวลผลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปคอมพิวเตอร์ และงานวิจัยคุณภาพ เครืองมือคือ การสนทนากลุ่ม จำนวน 13 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาพรวมของความต้องการจำเป็นในการเสริมพลังองค์กรชุมชนในงานสวัสดิการชุมชนที่อยู่ระหว่างการดำเนินงานในจังหวัดเลย มีความต้องการจำเป็นในการพัฒนา ค่า PNI modified เท่ากับ 0.32 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานจากหน่วยงานที่ให้การสนับสนุน (สำนักงานพัฒนาชุมชนภูเรือและสำนักงานเกษตรอำเภอภูเรือ) มีความต้องการจำเป็นในการพัฒนา เป็นลำดับแรก ค่า PNI modified เท่ากับ 0.34 รองลงมาได้แก่ ข้อ 4 ด้านการได้รับการสนับสนุนดำเนินการประสานงานระหว่างภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน ข้อ 3 ด้านกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันในการดำเนิน งานและกำกับติดตามประเมินผลการดำเนินงาน และข้อ 1 ด้านด้านการดำเนินงานตามภารกิจแห่งระเบียบ ข้อบังคับของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกาแฟสดกระชายดำบ้านท่าศาลา ค่า PNI modified เท่ากับ 0.32 0.31 0.31 และ 0.30 ตามลำดับ 2) แนวทางการสร้างกระบวนการเสริมพลังชุมชนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกาแฟสดกระชายดำของบ้านท่านศาลาตำบลท่าศาลา อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย ประกอบด้วย (1) กระบวนการเสริมสร้างแนวคิดเชิงบวกทางสังคมด้วยกระบวนการกลุ่ม (2) กระบวนการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมให้กับสมาชิกและชุมชน และ (3) กระบวนการเสริมสร้างแกนกลางการพัฒนาชุมชน เพื่อผลักดันให้ กลุ่มภาคีเครือข่าย ให้สามารถกระตุ้นให้ภาคีเครือข่ายมาร่วมงาน ผ่านการเสริมสร้างศักยภาพกลุ่มเพื่อให้เกิดการขยายผลการเสริมพลัง
References
ขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดเลย. (2562). รายงานผลพัฒนาขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดเลยประจำปี
-2563. เอกสารถ่ายสำเนาเย็บเล่ม.
พินทุสร โพธิ์อุไร. (2562:69-70). แนวคิดว่าด้วยการเสริมพลังชุมชนเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ. วารสารพัฒนาสังคม. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร. ปีที่ 21 ฉบับที่ 2 มกราคม – เมษายน 2562 หน้า 64-77.
ภิญญดา ภัทรกิจจาธร, อัญชลี ศรีสมุทร. (2557). อุปาทานหมู่ : แนวทางปฏิบัติ. วารสารพยาบาลตำรวจ. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย. ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2557 . หน้า 209 – 219.
โยธิน แสวงดี. (2562). เอกสารประกอบการฝึกอบรมเรื่อง ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสม (Mixed Method). เอกสารถ่ายสำเนาเย็บเล่ม.
วัลนิกา ฉลากบาง. (2560). การวิจัยแบบผสมผสาน Mixed Methods Research. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 : มกราคม - เมษายน 2560 หน้า 124-132
วิชญ์ มะลิต้นและคณะ. (2563). รายงานการวิจัยเรื่อง กระบวนการเสริมพลังเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนฐานรากของบ้านหินสอ หมู่ 6 ตำบลปลาบ่า อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย. เลย : เอกสารถ่ายสำเนาเย็บเล่ม.
วิชญ์ มะลิต้น. (2566). ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาผู้นำสภาองค์กรชุมชนตำบลในเขตจังหวัดเลยเพื่อสร้างจิตสำนึกความเป็นพลเมืองที่ดี. วารสารวิชาการธรรมทัศน์. ปีที่ 23 ฉบับที่ 3 (กรกฎาคม - กันยายน 2566).
สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน). (2560). องค์กรชุมชนภาคอีสานกับการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ปี 2560 กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : บจ.อีสานบิซ.
สมยศ นาวีการ. (2540). การบริหารและพฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพมหานคร: ผู้จัดการ.
สมศักดิ์ สามัคคีธรรม. (2566). การเสริมพลังชุมชนกับการพัฒนาที่ยั่งยืน (Community Empowerment And Sustainable Development). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2557). แนวคิด ทฤษฎี และภาพรวมของการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร : บริษัทอมรินทร์ พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).
สุรยุทธ สุระท้าว. (2564). ดุษฎีนิพนธ์เรื่องรูปแบบการพัฒนาศักยภาพสภาองค์กรชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาพัฒนาสังคม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
สุริย์วิภา ไชยพันธุ์ (2558: บทนำ). ภาวะผู้นำกับการครองตน ครองคน และครองงาน Leadership with Self- Management, Man Management and Job Management. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต. ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 พฤศจิกายน 2557 – เมษายน 2558 หน้า 60-70.
Srirattanaball, A. (2017). Health Promotion and Community Empowerment, Unpublished Document.
Tienhongsakun W. (1986). Community Development according to the Western Philosopher. Bangkok: O.S. Printing House.
Tiangthum V. (2015). Community Capacity Building: Concept and Applications. Bangkok: Danex Inter Corporation.
Wiangsang A., et al. (2005). Participatory Monitoring and Evaluation. Bangkok: Learning Enhancement for Happy Communities Project.
