กระบวนการรับรู้นโยบายสาธารณะและการมีส่วนร่วมของประชาชนในจังหวัดเลย
คำสำคัญ:
การรับรู้, นโยบายสาธารรณะ, การมีส่วนร่วมบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาระดับความสนใจนโยบายสาธารณะของประชาชนในจังหวัดเลย 2) เพื่อศึกษากระบวนการรับรู้นโยบายสาธารณะของประชาชนในจังหวัดเลย 3) เพื่อศึกษาแนวทางของประชาชนในจังหวัดเลย ในการมีส่วนร่วมในกระบวนการทางนโยบายสาธารณะ งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Methods Research) ระหว่างวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยทำการเก็บข้อมูลจากประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในจังหวัดเลย จากกลุ่มเป้าหมาย จำนวนทั้งสิ้น 465 คน ประกอบด้วยการเก็บตัวอย่างจากแบบสอบถาม จำนวน 400 คน โดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ด้วย ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเก็บตัวอย่างจากแบบสัมภาษณ์ จำนวน 65 คน เพื่อหาข้อค้นพบ และเชื่อมโยงสัมพันธ์กับทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
ผลการศึกษาพบว่า 1) ประชาชนเข้าถึงนโยบายสาธารณะ 2 ครั้งต่อสัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 20.5 โดยผ่านช่องทางสื่อออนไลน์มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 35.5 โทรทัศน์ เป็นช่องที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากที่สุด ในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารทางนโยบายสาธารณะ คิดเป็นร้อยละ 34.8 2) ระดับการรับรู้นโยบายสาธารณะ นโยบายหลัก 12 ด้าน อยู่ในระปานกลาง ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.16 นโยบายที่มีระดับการรับรู้มากที่สุดคือ นโยบายหลักด้านที่ 3 การทำนุบำรุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.50 นโยบายที่มีระดับการรับรู้น้อยที่สุดคือ นโยบายหลักด้านที่ 4 การสร้างบทบาทของไทยในเวทีโลก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.92 3) ระดับความเข้าใจนโยบายสาธารณะ นโยบายหลัก 12 ด้าน อยู่ในระปานกลาง ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.04 นโยบายที่มีระดับความเข้าใจมากที่สุดคือ นโยบายหลักด้านที่ 3 การทำนุบำรุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.38 นโยบายที่มีระดับความเข้าใจน้อยที่สุดคือ นโยบายหลักด้านที่ 4 การสร้างบทบาทของไทยในเวทีโลก และนโยบายหลักด้านที่ 6 การพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจและการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.83 4) ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับนโยบายสาธารณะ และแสดงออกโดยการพูดคุยในกลุ่มเพื่อน หรือพูดคุยในครอบครัวและเครือญาติ โดยทำการบอกต่อประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับนโยบายของรัฐผ่านช่องทางสังคมออนไลน์ เพื่อให้ผู้อื่นได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น และแสดงออกโดยการใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยการสนับสนุนพรรคการเมืองที่กำหนดนโยบายที่ตนชื่นชอบ แต่ถ้าเป็นนโยบายสาธารณะที่ไม่ชื่นชอบจะปฏิเสธการเข้าร่วม ไม่ให้ความร่วมมือและไม่ให้การสนับสนุนต่อนโยบายนั้น พร้อมยังอธิบายถึงเหตุผลที่ไม่ชอบนโยบายให้กับผู้อื่นฟังเพื่อให้เกิด ความคล้อยตามผ่านการพูดคุยหรือผ่านทางสื่อออนไลน์ เมื่อพบความไม่ปกติของนโยบายสาธารณะหรือความผิดปกติจากการนำนโยบายไปปฏิบัติจากหน่วยงานของรัฐ ประชาชนจะร้องเรียนผ่านหน่วยงานภาครัฐโดยตรง และประสานผ่านผู้นำหมู่บ้าน เพื่อขอคำปรึกษาหรือคำแนะนำในขั้นตอนต่อไป หรือร้องเรียนผ่านช่องทางออนไลน์ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เมื่อประชาชนต้องการมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายสาธารณะจะมีส่วนร่วมผ่านการแสดงออกทางสื่อสังคมออนไลน์ และมีส่วนร่วมผ่านทางหน่วยงานของรัฐที่จัดขึ้น หรือผ่านเจ้าหน้าที่รัฐ เช่น ผ่านทางผู้ใหญ่บ้านหรือผู้นำหมู่บ้าน
References
กุลธน ธนาพงศธร. (2522). นโยบายของรัฐ : อะไร ทำไหม และอย่างไร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
กฤษณ์ ทองเลิศ. (2535). การร้องทุกข์ผ่านสื่อมวลชน ในช่วงเปลี่ยนผ่านคณะรัฐบาลจากพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ สู่รัฐบาลนายอานันท์ ฟันยารชุน. กรุงเทพฯ:
วิทยานิพนธ์รัฐนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์.
ทินพันธุ์ นาคะตะ. (2526). นโยบายการพัฒนาและวิชาการ. กรุงเทพฯ: พัฒนาบริหารศาสตร์.ปีที่ 13 เล่ม 1 มกราคม 2526.
ทศพร ศิริสัมพันธ์. (2539). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
ทศพร ศิริสัมพันธ์. (2544). เทคนิควิธีการวิเคราะห์นโยบาย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิพาพร พิมพ์พิสุทธิ์. (2543). การกำหนดและวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย รามคำแหง.
นาตยา แท่นนิล. (2555). รูปแบบของกระบวนการนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมในการจัด และอาหาร ปลอดภัยในจังหวัดสงขลา. จังหวัดสงขา:
วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ปกรณ์ นันทกิจ. (2552). เรื่องกระบวนการรับรู้นโยบายสาธารณะของประชาชน ในเขตเทศบาลตำบล บางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี. จังหวัดชลบุรี: รายงาน
การศึกษาอิสระปริญญารัฐ ประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ปาริชาติ วลัยเสถียร. (2549). กระบวนการเรียนรู้และการจัดการความรู้ของชุมชน. กรุงเทพฯ: สำนักงาน กองทุนสนับสนุนการวิจัย.
พูลศักดิ์ ชูพาณิชสกุล. (2550). การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อกิจกรรมการพัฒนาของเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์. จังหวัดอุตรดิตถ์: ภาคนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสน
ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริการและ พัฒนาประชาคมเมืองและชนบท มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
เมตต์ เมตต์การุณจิต. (2541). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารการศึกษาโรงเรียนเทศบาล. วารสารการศึกษาตลอดชีวิต.
เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ. (2550). นโยบายสาธารณะ. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.
วิภา อุตมฉันท์. (2544). การผลิตสื่อโทรทัศน์และส่ือคอมพิวเตอร์: กระบวนการสร้างสรรค์และ
เทคนิคการผลิต. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: บุ๊คส์ พอยท์.
สำนักวิจัยสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. (2551). เยาวชน กับ การเมืองไทย.
กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย ราชภัฏสวนดุสิต.
สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล. (2566). โครงการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชน. ฐานข้อมูล E-database. https://www.dga.or.th/document-
sharing/article/35827/ .
สิทธิโชค วรานุสันติกุล. (2544). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: บริษัทรวมสาสน์ จำกัด.
สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2557). นโยบายสาธารณะ. กรุงเทพฯ: แนวความคิด การวิเคราะห์ และกระบวนการ.สำนักพิมพ์เสาธรรม กรุงเทพมหานครฯ.
สร้อยตระกูล อรรถมานะ. (2541). ทฤษฎีและการประยุกต์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อคิน รพีพัฒน์. (2527). ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาชนบท : ประสบการณ์ของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อนันต์ธนา อังกินันท์. (2525). สื่อมวลซนและการประชาสัมพันธ์เพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ: คุณพินอักษรกิจ.
Cochran, Charles L. and Malone, Eloise F. (1995). Public Policy. Perspective and choices. New York : McGraw-Hill.
Sriwichailamphun, T. (2013). Community economic development. Faculty of Economics, Chiang Mai University.
Thomas, R. Dye. (1978). Understanding Public Policy. Englewood Cliffs: Prentice-Hall, Inc.
Yamane, T. (1967). Statistics : An Introductory Analysis. New York : Harper and Row.
