กฎหมายเกี่ยวกับการจัดการบริหารพื้นที่อ่าวบ้านดอน
คำสำคัญ:
อ่าวบ้านดอน, การจัดการพื้นที่บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากฎหมายและหน่วยงานของรัฐ ที่มีหน้าที่และอำนาจในการบังคับใช้กฎหมายเพื่อการจัดการบริหารพื้นที่บริเวณอ่าวบ้านดอน และเพื่อเสนอแนะการบังคับใช้กฎหมายสำหรับการบริหารจัดการดพื้นที่อ่าวบ้านดอนให้เป็นเอกภาพและมีประสิทธิภาพ
จากผลการวิจัยพบว่า กฎหมายที่เกี่ยวข้องมีทั้งกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายภายในประเทศ แบ่งได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ กฎหมายที่ใช้บังคับกับทะเลชายฝั่ง กฎหมายที่ใช้บังคับกับทะเลอาณาเขต และกฎหมายที่ใช้บังคับกับทะเลเขตเศรษฐกิจจำเพาะ กล่าวสำหรับการบริหารจัดการพื้นที่อ่าวบ้านดอน มีกฎหมายและเจ้าหน้าที่รัฐเกี่ยวข้อง 3 ระดับ ได้แก่ กฎหมายการจัดการพื้นที่ป่าชายเลนและชายฝั่ง กฎหมายเกี่ยวกับการจัดการพื้นที่ทะเล และกฎหมายเกี่ยวกับการประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยกฎหมายให้อำนาจหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐบังคับใช้กฎหมายแบบแยกส่วน ก่อให้เกิดสภาวะขาดเอกภาพในการบังคับใช้กฎหมาย ขาดการบูรณาการจากภาครัฐ ภาคประชาสังคม และผู้มีส่วนได้เสีย ผู้วิจัยเห็นว่า การบริหารจัดการพื้นที่อ่าวบ้านดอน จึงควรแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ การจัดการพื้นที่ป่าชายเลนและชายฝั่งเป็นอำนาจหน้าที่ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2558 การจัดการพื้นที่นอกทางทะเลชายฝั่งเป็นอำนาจของกรมเจ้าท่าตามพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ.2446 และพระราชบัญญัติเรือไทย พุทธศักราช 2481 ส่วนการจัดการพื้นที่ประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในพื้นที่ชายทะเลและทะเลชายฝั่งเป็นอำนาจหน้าที่ของกรมประมงตามพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558 จึงมีข้อเสนอแนะว่า การจัดการพื้นที่และการขออนุญาตทั้งโดยตรงและเกี่ยวเนื่องในการประมงหรือการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรมประมง ส่วนการจัดการพื้นที่ส่วนอื่นให้เป็นหน้าที่และอำนาจของหน่วยงานรัฐตามที่กฎหมายบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ
References
กฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2563 (2563, 26 พฤษภาคม) ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 137, ตอนที่ 38 ก, หน้า 4-11.
กรมศิลปากร. (2505). “ตำนานเมืองนครศรีธรรมราช” รวมเรืองเมืองนครศรีธรรมราช. พระนคร: โรงพิมพ์รุ่งเรืองรัตน์.
บุณฑรี จันทร์กลับ และจินตนีย์ รู้ซื่อ. (2561). โครงการการศึกษาภาวะเศรษฐกิจสังคมของชุมชนประมงปูม้าและการวิเคราะห์โซ่ปูม้าในพื้นที่อ่าวบ้ายดอน จังหวัดสุราษฎร์ธานี.มหาวิทยาลัยลักษณ์.สนับสนุนโดยสำนักงานพัฒนาการวิจัยเกษตร องค์การมหาชน (สวก.) แหล่งที่มา: https://online.anyflip.com/swuui/call/ mobile/index.html เมื่อ 17 พฤศจิกายน 2565
พระราชบัญญัติการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล พ.ศ. 2562. (2562, 12 มีนาคม) ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 136, ตอนที่ 30 ก, หน้า 1.
พระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2558 (2558, 26 มีนาคม) ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 132, ตอนที่ 21 ก, หน้า 49-60.
พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ. 2456 (2456, 5 สิงหาคม) ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 30, หน้า 74-175.
พระราชบัญญัติว่าด้วยสิทธิการประมงในเขตการประมงไทย พ.ศ. 2482 (2482, 30 กันยายน) ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 56, หน้า 941-950.
พระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 (2590, 14 มกราคม) ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 64, ตอนที่ 3, หน้า 81-87.
พระราชบัญญัติกำหนดเขตจังหวัดในอ่าวไทยตอนใน พ.ศ. 2502 (2502, 29 กันยายน) ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 76, ตอนที่ 92, หน้า 430-437.
เพ็ญนภา สวนทอง และโอฬาร ถิ่นบางเตียว. (2562). นิเวศวิทยายการเมืองของการจัดการทรัพยากรชายฝั่งทะเลอ่าวบ้านดอน จังหวัดสุราษฎร์ธานี.วารสารเศรษศาสตร์การเมืองบูรพา.7(2), 101-130.
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. (2550X. โครงการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง: รายงานฉบับสมบูรณ์การวางแผนการจัดการอ่าวบ้านดอนและเกาะนอกชายฝั่ง: การวิเคราะห์และวินิจฉัยระบบชายฝั่ง. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ แหล่งที่มา: http://58.82.155.201/chm-thaiNew/chm/MarineBio/Paper/BOOK/
Ban%20Don%20Bay%20_Report(Thai).pdf เมื่อ 18 ตุลาคม 2563.
Creswell, J. W. (2014). Research Design: Qualitative, Quantitative and Mixed Method Approaches. Thousand Oaks: Sage Publications.
