กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการชันสูตรพลิกศพ
คำสำคัญ:
กฎหมายต้นแบบ, การชันสูตรพลิกศพ, การผ่าศพ, การค้นหาความจริงเกี่ยวกับการตาย, กระบวนการยุติธรรมทางอาญาบทคัดย่อ
การวิจัยนี้ศึกษาและวิจัยเรื่องกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการชันสูตรพลิกศพ ซึ่งมีวัตถุประสงค์
(1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาเกี่ยวกับการชันสูตรพลิกศพของไทย (2) เพื่อศึกษาเชิงเปรียบเทียบระหว่างการชันสูตรพลิกศพของไทยกับต่างประเทศ (3) เพื่อยกร่างกฎหมายเกี่ยวกับการชันสูตรพลิกศพของไทย
(4) เพื่อประเมินร่างกฎหมายเกี่ยวกับการชันสูตรพลิกศพของไทย ซึ่งการวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีวิทยาการวิจัย
เชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการประชุมสนทนากลุ่ม
ผลการศึกษาวิจัยพบว่า การชันสูตรพลิกศพของไทยนั้น มีปัญหาทางข้อกฎหมายและปัญหาในทางปฏิบัติ ได้แก่ ปัญหาระบบการชันสูตรพลิกศพ ปัญหามาตรฐานองค์กรที่มีหน้าที่ทำการชันสูตรพลิกศพ ปัญหาการกำหนดเหตุที่ต้องมีการชันสูตรพลิกศพ ปัญหาของขั้นตอนการดำเนินการชันสูตรพลิกศพ ปัญหาการตรวจสอบถ่วงดุล และปัญหาการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาการชันสูตรพลิกศพ อันเป็นการคุ้มครองสิทธิของประชาชนและเป็นพัฒนาระบบกระบวนการยุติธรรม การวิจัยนี้จึงได้นำแนวทางจากการวิเคราะห์มาออกแบบเป็นกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการชันสูตรพลิกศพ โดยมีโครงสร้างของกฎหมายประกอบด้วยบททั่วไป คณะกรรมการการชันสูตรพลิกศพ เจ้าพนักงาน สำนักงาน และเขตอำนาจ การชันสูตรพลิกศพ และบทกำหนดโทษ
การวิจัยเสนอแนะให้มีการนำกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการชันสูตรพลิกศพจากการวิจัยไปตราเป็นกฎหมายตามกระบวนการทางนิติบัญญัติเพื่อให้มีการใช้บังคับ
References
กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2560). คู่มือการปฏิบัติหน้าที่ชันสูตรพลิกศพของพนักงานฝ่ายปกครอง. ปทุมธานี: โรงพิมพ์อาสารักษาดินแดน.
เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์. (2565). หลักพื้นฐานกฎหมายมหาชน. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
จิณณ์พัชฌาณ์ ไชยมะโณ. (2563). การศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการสืบสวนการตายผิดธรรมชาติ ของประเทศไทย ประเทศสิงคโปร์ และประเทศญี่ปุ่น. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (นิติวิทยาศาสตร์) สาขานิติวิทยาศาสตร์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
แสวง บุญเฉลิมวิภาส. (2565). นิติเวชศาสตร์และกฎหมายการแพทย์. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.
อุษา จั่นพลอย บุญเปี่ยม. (2553). การศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายเกี่ยวกับการชันสูตรพลิกศพของประเทศไทยกับประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศอังกฤษ และประเทศเยอรมนี. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Hanzlick ,R. Combs D. (2023). medical examiner and coroner systems : history and trends. http://jama.jamanetwork.com/article.aspx?articleid=187352
Lord Bingham. (2007). The Rule of Law. Cambridge Law Journal.
