มาตรการทางกฎหมายในการกำหนดอำนาจหน้าที่และลักษณะคดีแพ่งในระบบไต่สวนของศาลยุติธรรม

ผู้แต่ง

  • ถิรวรรณ กลางณรงค์ School of Law, University of Phayao

คำสำคัญ:

ระบบไต่สวน, อำนาจหน้าที่ของผู้พิพากษา, การกำหนดลักษณะคดีแพ่ง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอำนาจหน้าที่ของผู้พิพากษาในศาลยุติธรรมที่ต้องใช้ระบบไต่สวนในการพิจารณาคดี และวิเคราะห์ลักษณะของคดีที่ต้องใช้ระบบไต่สวนในการพิจารณาคดีในศาลยุติธรรม โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย บทบัญญัติของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ คำพิพากษาศาลฎีกา หนังสือ บทความทางวิชาการ และรายงานการวิจัย

ผลการวิจัยพบว่า แม้ระบบศาลยุติธรรมไทยจะเปิดโอกาสให้ใช้ระบบไต่สวนในการพิจารณาคดี แต่ในทางปฏิบัติผู้พิพากษาส่วนใหญ่ยังคงยึดติดกับวัฒนธรรมระบบกล่าวหา อันเนื่องมาจากปัจจัยหลายประการ ได้แก่ ความกังวลเกี่ยวกับการรักษาความเป็นกลางของศาล ข้อจำกัดด้านทรัพยากรบุคคลและระยะเวลาในการพิจารณาคดี การขาดแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนในการใช้ระบบไต่สวน และปัญหาความไม่เท่าเทียมในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ดังนั้น การกำหนดลักษณะคดีที่ควรใช้ระบบไต่สวนควรพิจารณาจากปัจจัยสำคัญสองประการ ได้แก่ (1) สถานะของคู่ความ ซึ่งประกอบด้วย สถานะทางการเงิน ฐานะทางสังคม พื้นฐานการศึกษา และอำนาจต่อรองในกระบวนการยุติธรรม และ (2) ลักษณะของคดี ซึ่งครอบคลุมถึงคดีที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์สาธารณะ คดีที่มีความซับซ้อนทางเทคนิคและต้องการความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน การวิจัยนี้ มีข้อเสนอแนะให้มีการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมทางกฎหมายดั้งเดิม คือ ระบบกล่าวหา กับระบบไต่สวน เพื่อสร้างวัฒนธรรมทางกฎหมายใหม่ที่เหมาะสมกับบริบทของสังคมไทย อันจะนำไปสู่การอำนวยความยุติธรรมที่มีประสิทธิภาพและสร้างความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม นอกจากนี้ ยังมีข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องให้มีความชัดเจนและสอดคล้องกับการใช้ระบบไต่สวน เพื่อให้การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและโปร่งใส

References

บรรณานุกรมและรายการอ้างอิง

หนังสือ

ชาญชัย แสวงศักดิ์. (2563). กฎหมายมหาชน วิวัฒนาการของกฎหมายมหาชนในต่างประเทศและในประเทศ. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน.

ธีระ สุธีวรางกุล. (2563). ระบบศาลและการพิจารณาคดีของศาลในทางกฎหมายมหาชน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอนคณะนิติศาสตร์. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์. (2562). คำอธิบายหลักพื้นฐานของกฎหมายเอกชน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน.

โสภณ รัตนากร. (2565). คำอธิบายกฎหมายลักษณะพยาน. (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน.

ไพโรจน์ วายุภาพ. (2553). คำอธิบายระบบศาลและพระธรรมนูญศาลยุติธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 7) กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน.

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

วารสาร

ธนกฤต วรธนัชชากุล.(2564). ระบบกล่าวหาและระบบไต่สวนกับบทบาทของคู่ความและศาล. ข่าวเนติบัณฑิตยสภา, 34(381), 13-17

วิจัย วิทยานิพนธ์

ศูนย์วิจัยคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2546). รวบรวมข้อมูลด้านการเมืองการปกครองของไทย ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับสถาบันฝ่ายตุลาการ. สถาบันพระปกเกล้า. กรุงเทพฯ.

ศูนย์บริการวิชาการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. (2556). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ การนำระบบไต่สวนมาใช้ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา: ศึกษาเปรียบเทียบนานาประเทศ. สำนักงานอัยการสูงสุด. กรุงเทพฯ.

วีระพงษ์ บุญโญภาส และคณะทำงาน. (2558). การพัฒนาระบบการพิจารณาคดีของศาลยุติธรรมในการค้นหาความจริงเพื่ออำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย. คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

สำนักงานศาลปกครอง. (2563). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. โครงการวิจัยระบบไต่สวนกับการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลในประเทศไทย: แนวคิดที่มาของต่างประเทศและทิศทางการใช้ในศาลไทย. กรุงเทพฯ.

การประชุมสัมมนาวิชาการ

การพิจารณาคดีแบบระบบไต่สวน หลักการและทางปฏิบัติที่เป็นอยู่ จัดโดยศูนย์กฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม 2563 ณ ห้องจี๊ด เศรษฐบุตร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

ปัญหาในการนำการพิจารณาคดีตามระบบไต่สวนมาใช้ในการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลไทย จัดโดยสำนักงานศาลปกครอง วันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน 2562 ณ ห้องออดิทอเรียม โรงแรมเซ็นทรา บายเซ็นทารา ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ

เผยแพร่แล้ว

2024-12-29

How to Cite

กลางณรงค์ ถ. (2024). มาตรการทางกฎหมายในการกำหนดอำนาจหน้าที่และลักษณะคดีแพ่งในระบบไต่สวนของศาลยุติธรรม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 7(1), 75–87. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/husolru/article/view/275842