การศึกษาเปรียบเทียบสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุในจังหวัดเลย
คำสำคัญ:
ประชากรผู้สูงอายุ, การออกกำลังกาย, การประเมินสมรรถภาพทางกาย, จังหวัดเลยบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุในจังหวัดเลย กลุ่มประชากรคือผู้สูงอายุที่มีอายุระหว่าง 60-69 ปี กำหนดกลุ่มตัวอย่างด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป G*Power (V 3.1.9.4) ได้จำนวน 160 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เลือกพื้นที่ในการเก็บรวบรวมข้อมูล 5 อำเภอ โดยเลือกจากอำเภอที่มีจำนวนประชากรผู้สูงอายุที่มีอายุระหว่าง 60 - 69 ปี อาศัยอยู่มาก 5 ลำดับแรก ได้แก่ อำเภอวังสะพุง อำเภอเมือง อำเภอด่านซ้าย อำเภอเชียงคาน และอำเภอปากชม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ โปรแกรมการทดสอบสมรรถภาพทางกาย ประกอบด้วย องค์ประกอบของร่างกาย ทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ทดสอบความอ่อนตัว ทดสอบความอดทนของระบบหัวใจและไหลเวียนเลือด ผลการทดสอบสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุ พบว่า ค่าดัชนีมวลกายเฉลี่ยเท่ากับ 25.22 กิโลกรัม/ตารางเมตร อยู่ในเกณฑ์อ้วน ผลการทดสอบความอดทนของระบบหัวใจไหลเวียนเลือดอยู่ในเกณฑ์ดีมาก มีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ อยู่ในเกณฑ์ต่ำมาก และมีความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อส่วนล่างของร่างกาย อยู่ในเกณฑ์ปานกลาง และความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อส่วนบนอยู่ในเกณฑ์ดี เมื่อเปรียบเทียบ
สมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุ ในแต่ละอำเภอพบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2566). สถิติผู้สูงอายุ. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2566, จาก https://dop.go.th/th/know/1
กรมอนามัย. (2566). แผนงานยุทธศาสตร์สุขภาพกระทรวงสาธารณสุขด้านส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค. นนทบุรี : กรมอนามัย.
กองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ กรมอนามัย. (2565). การประเมินสมรรถภาพทางกายเพื่อลดความเสี่ยงต่อการหกล้มในผู้สูงอายุ. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.
เดชา พรมกลาง, นพวรรณ เปียซื่อ, สุจินดา จารุพัฒน์ มารุโอ,สุกัญญา ตันติประสพลาภ. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยของผู้สูงอายุในชุมชนแออัด เขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสภาการพยาบาล, 33(1), 49-60.
นริศรา เปรมศรี, สุทธิรักษ์ วิเศษสังข์, ประชาชาติ อ่อนคํา, วัฒนพงษ์ คงสืบเสาะและ ชยานนท์ อวิคุณประเสริฐ. (2559). การศึกษาสมรรถภาพทางกายและสุขภาพจิตในกลุ่มผู้สูงอายุกรณีศึกษาผู้สูงอายุในเขตอำเภอเมืองจังหวัดนครพนม. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม. 6(3), 18 – 25.
นันท์นภัส ธนฐากร และธนัช กนกเทศ. (2562). โรคอ้วนในผู้สูงอายุ: การประเมินและแนวทางป้องกัน. วารสารวิชาการอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 13(1), 16-26.
บรรจง พลไชย. (2560). การรับรู้ประโยชน์ ปัญหา และพฤติกรรมออกกำลังกายของผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลเมืองนครพนม. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม, 18(34), 62-72.
ระบบสถิติทางการทะเบียน. (2563). สถิติประชากรและบ้าน จำนวนประชากรแยกรายอายุ. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2564, จาก http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age.php
สยาม ทองใบ, ธนสิริ โชคทวีพาณิชย์, พชรัชน์ อ้นโต, วันดี ฉวีจันทร์, และนารีรมย์ รัตนสัมฤทธิ์. (2562). การศึกษาสมรรถภาพทางกายในกลุ่มผู้สูงอายุในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 7(ฉบับเพิ่มเติม) ตีพิมพ์เผยแพร่ในโอกาส เฉลิมฉลองวันวิสาขบูชาโลก, 380-392.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2564). คู่มือรูปแบบการออกกำลังและสร้างผู้นำด้านการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ. มหาวิทยาลัยมหิดล สำนักงานกองทุนสนับสนุนบริการสุขภาพ.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563). วิเคราะห์และสรุปสถานการณ์ผู้สูงอายุ พ.ศ. 2563 จังหวัดเลย. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2564, จาก https://loei.nso.go.th/images/report/j/2.report_elder
สำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562). แบบทดสอบและเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายสำหรับผู้สูงอายุ อายุ 60 - 69 ปี. กรมพลศึกษา : กรุงเทพมหานคร.
สุพิตร สมาหิโต, สิริพร ศศิมณฑลกุล, อำพร ศรียาภัย, นันทวัน เทียนแก้ว, อาริสร์ กาญจนศิลานนท์, ไพลิน เผือกประคอง, และเพ็ญนิภา พูลสวัสดิ์. (2556). แบบการทดสอบและเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกาย สำหรับผู้สูงอายุ อายุ 60-89 ปี. กรุงเทพมหานคร : สำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
American College of Sports Medicine. (2014). ACSM’S Resources for The Personal Trainer. 4th ed. Baltimore: Lippincott Williams & Wilkins.
WHO expert consultation. (2004). Appropriate body-mass index for Asian populations and its implications for policy and intervention strategies. Lancet, 363, 157-63.
