การสร้างภาคีเครือข่ายบนฐานทุนพหุวัฒนธรรม “ว่าวเบอร์อามัส” สู่มหกรรมการแข่งขันว่าวนานาชาติ จังหวัดยะลา

ผู้แต่ง

  • ศรินทร์ญา จังจริง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
  • ปพน บุษยมาลย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
  • นูรีดา จะปะกียา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
  • สถาวิทย์ จันจุฬา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
  • มะพาริ กะมูนิง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

คำสำคัญ:

ภาคีเครือข่าย; ทุนพหุวัฒนธรรม,; การแข่งขันว่าว

บทคัดย่อ

การสร้างภาคีเครือข่ายบนฐานทุนพหุวัฒนธรรม “ว่าวเบอร์อามัส” สู่มหกรรมการแข่งขันว่าวนานาชาติ จังหวัดยะลา มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์ความเป็นมาของว่าวบนฐานทุนทางวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2. เพื่อสร้างภาคีเครือข่ายบนฐานทุนพหุวัฒนธรรมสืบสานผ่านมหกรรมการแข่งขันว่าวนานาชาติ การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)  โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม โดยให้ความสำคัญกับมุมมองของเจ้าของปัญหา (Lay views) และจัดเวทีประชุมเชิงปฏิบัติการ แบ่งแยกเป็นกลุ่มตามเนื้อหา ตัวแปร และประเด็นหลักตามที่กำหนดคัดสรรข้อมูลที่ต้องการ และนำข้อมูลที่ได้ทั้งหมดมาทำการวิเคราะห์ สังคราะห์ โดยแบ่งผู้ให้ข้อมูลเป็น 4 กลุ่มดังนี้ 1) หน่วยงานภาครัฐ  2) ปราชญ์ชาวบ้าน,ปราชญ์พื้นถิ่น 3) ศิลปินในพื้นที่ 4) ผู้ประกอบการทางวัฒนธรรม และ 5) เยาวชนในจังหวัดยะลา

                    ผลการศึกษา พบว่า 1.การศึกษาประวัติศาสตร์ความเป็นมาของว่าวบนฐานทุนทางวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วย 1) ด้านวัฒนธรรมความเชื่อและการใช้งานว่าวเบอร์อามัส 2) ด้านความเชื่อมโยงกับตำนานและการแสดง 3) ด้านการอนุรักษ์วัฒนธรรม 4) ด้านการส่งผลกระทบต่อชุมชน  2. เพื่อสร้างภาคีเครือข่ายบนฐานทุนพหุวัฒนธรรมสืบสานผ่านมหกรรมการแข่งขันว่าวนานาชาติ

References

นางสาวซูไฮบะห์ อาแวเซาะ.(2560).จิตกรรมสร้างสรรค์เทคนิกสีอะครีลิค : ความงามของว่าวมลายู.

https://clib.psu.ac.th/ebookgen/public/southerninfo/s0/202003-5e5c863851fa2/

นุรอัฟฟานนีซาร์ รอแม.(2562).ข่าวภาคใต้ชายแดน.

(https://www.longtaithailand.com/news/detail/3996)

นายรัศมินทร์ นิติธรรม.(2558).ศึกษาว่าวเบอร์อามัส จากนามธรรมสู่รูปธรรม.สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

เผยแพร่แล้ว

2024-12-29

How to Cite

จังจริง ศ., บุษยมาลย์ ป., จะปะกียา น., จันจุฬา ส., & กะมูนิง ม. . (2024). การสร้างภาคีเครือข่ายบนฐานทุนพหุวัฒนธรรม “ว่าวเบอร์อามัส” สู่มหกรรมการแข่งขันว่าวนานาชาติ จังหวัดยะลา . วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 7(1), 88–101. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/husolru/article/view/276941