รัฐธรรมนูญกับประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

Main Article Content

Pawarit Lertdhamtewe

บทคัดย่อ

บทความนี้กล่าวถึงประเพณีทางรัฐธรรมนูญของไทย ซึ่งมีความสัมพันธ์กับประเด็นดังต่อไปนี้ (1)การสืบราชสมบัติซึ่งเป็นไปตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ฯ และรัฐธรรมนูญให้การรับรองไว้ (2) กรณีนายกรัฐมนตรีพระราชทานซึ่งเกิดขึ้นในปี พ.ศ.2516ช่วงเวลาที่เกิดสุญญากาศทางการเมือง เป็นการใช้พระราชอำนาจในสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อทำให้ระบอบการปกครองที่ล้มเหลวกลับคืนสู่ภาวะปกติ(3) การลงพระปรมาภิไธยในกฎหมายและการลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ ร่างกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยไปแล้ว ย่อมถือว่าเป็นกฎหมายและใช้บังคับได้ (4) การรัฐประหารซึ่งก่อให้เกิดการล้มระบอบการปกครอง ทำลายระบบเศรษฐกิจ และการยกเลิกรัฐธรรมนูญ คณะรัฐประหารไม่ถือเป็นรัฏฐาธิปัตย์ แม้ศาลฎีกาจะได้เคยตีความวางหลักไว้ในคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1662/2505แต่หากพิจารณาจากหลักฐานตามประเพณีทางรัฐธรรมนูญที่ปรากฎในคำปรารภของรัฐธรรมนูญทุกฉบับ องค์รัฏฐาธิปัตย์มิใช่คณะรัฐประหาร การใช้อำนาจของคณะรัฐประหารเป็นเพียงการใช้อำนาจแทนองค์อธิปัตย์เท่านั้น อำนาจเดิมยังคงอยู่ที่พระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นประมุขของประเทศ (5)  พระราชวินิจฉัยซึ่งเกี่ยวกับการยับยั้งร่างกฎหมายหรือการพระราชทานคืนร่างกฎหมายเป็นประเพณีทางรัฐธรรมนูญว่า ร่างกฎหมายฉบับใดที่พระมหากษัตริย์ไม่ทรงลงพระปรมาภิไธย ให้เป็นอันตกไป และ (6)การอภัยโทษ เป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ไทยที่ปรากฏมาตั้งแต่สมัยโบราณ และรัฐธรรมนูญได้บัญญัติรับรองไว้ตามหลักการอภัยโทษเป็นอำนาจของประมุขแห่งรัฐ

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

Pawarit Lertdhamtewe, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

Pawarit Lertdhamtewe holds Ph.D. degree from the University of London where he was a Herchel Smith Scholar. He is currently a director of LL.M. program at Bangkok University, Thailand. He has been commissioned by a number of international organizations and Thai public institutions, such as Quaker United Nations Office in Geneva, Office of the Constitutional Court of Thailand, as well as the Ministry of Justice.