แนวทางการพัฒนาการให้บริการห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ของ งานเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

Authors

  • พีรพัฒน์ แสงขาว

Keywords:

การให้บริการ, ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยที่สำคัญคือ การศึกษาสภาพการให้บริการห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ของงานเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ และศึกษาแนวทางการให้บริการห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ของงานเทคโนโลยีสารสนเทศ ตามความคิดเห็นของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ผู้วิจัยได้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ในการเก็บรวมรวมและการวิเคราะห์และวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อให้ได้ผลการวิจัยที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การวิจัยผลการศึกษาพบว่า 1. สภาพการให้บริการห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ งานเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็น เพศหญิง ที่ศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะครุศาสตร์ เข้าใช้บริการห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์เดือนละ 1 ครั้ง ใช้บริการในด้านระบบ Internet และผลการวิเคราะห์ข้อมูลการให้บริการห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ งานเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ประกอบด้วย 5 ด้าน พบว่า ด้านการบริหารจัดการห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ด้านการให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ ด้านการจัดสภาพแวดล้อมห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ด้านการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ให้บริการ และด้านการให้บริการระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการจัดสภาพแวดล้อมห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์อยู่ในระดับมาก คือ มีกฎระเบียบในการใช้งานห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์เหมาะสม เป็นอันดับที่หนึ่ง รองลงมา คือ ด้านการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ให้บริการอยู่ในระดับมาก คือ มีความทันสมัยของเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ และการให้บริการห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ งานเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ อยู่ในระดับน้อยที่สุด คือ ด้านการให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ คือ มีความรวดเร็วในการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ในระดับมาก 2. แนวทางการพัฒนาการให้บริการห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ งานเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ พบว่า ควรเพิ่มทักษะการให้บริการอย่างมืออาชีพ มีการปรับปรุงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ให้มีครอบคลุม มีความรวดเร็วและเสถียร รวมถึงเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงเพียงพอกับการใช้งานและมีสภาพพร้อมใช้งาน มีความทันสมัย เพื่อสนองตอบความต้องการใช้บริการห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์

References

นันทิดา วัฒนประภา.ความพึงพอใจของนิสิตระดับปริญญาตรี คณะวิทยาศาสตร์

มหาวิทยาลัยบูรพาในการให้บริการห้องคอมพิวเตอร์ของสำนักคอมพิวเตอร์.[หลักสูตรวิทยา

ศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถิติ ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์].ชลบุรี:มหาวิทยาลัย

บูรพา;2554.

จตุพร ระเวงจิตร์และคณะ.การศึกษาปัญหาการบริการคอมพิวเตอร์ภายในห้องเรียน

กรณีศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.[มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล

สุวรรณภูมิ]นนทบุรี:มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ;2561.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ.การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. พิมพ์

ครั้งที่ 13. กรุงเทพฯ: บริษัท เอส. อาร์. พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์ จำกัด.2555.

สุติมา นครเขต.) การประเมินผลการใช้ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษาสังกัด

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2. [การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองเสนอเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาหลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา].พิษณุโลก:มหาวิทยาลัยนเรศวร;2561.

วราภรณ์ จันทะศร.แนวทางการพัฒนาการให้บริการห้องปฏิบัติการนิเทศศาสตร์

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม.2562;28-37.

Downloads

Published

2022-12-29

How to Cite

แสงขาว พ. . (2022). แนวทางการพัฒนาการให้บริการห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ของ งานเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. SSKRU Research and Development Journal, 9(2), 46–56. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/sskru-resarch/article/view/264279

Issue

Section

Research Articles