ความได้เปรียบในการแข่งขันด้านท่องเที่ยวของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
บทความนี้วิเคราะห์ความได้เปรียบในการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยใช้ตัวชี้วัด coverage ratio และความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบที่ปรากฏ (RCA) ทั้งในเชิงสถิตและเชิงพลวัต การวิเคราะห์ใช้ข้อมูลการส่งออกบริการการท่องเที่ยวของแต่ละประเทศในช่วงปี พ.ศ. 2545-2553 ผลการศึกษา พบว่า ประเทศกัมพูชา สปป. ลาว มาเลเซีย ไทย และเวียดนาม มีความสามารถในการแข่งขัน โดยมีส่วนเกินของการส่งออกบริการท่องเที่ยวเมื่อเทียบกับทั้งของภูมิภาค ประเทศไทยมีความชำนาญพิเศษสูงสุดในภูมิภาคนี้ แต่มีแนวโน้มลดลง ประเทศมาเลเซียมีความชำนาญพิเศษเพิ่มขึ้นในอัตราสูงสุด รองลงมาคือ ประเทศกัมพูชา และสิงคโปร์ โดยพบว่ามีสัดส่วนการส่งออกบริการท่องเที่ยวหดตัวช้ากว่าภาพรวมของภูมิภาค ประเทศไทยควรใช้โอกาสการเป็นผู้นำด้านการท่องเที่ยวสร้างพันธมิตรท่องเที่ยวและส่งเสริมตลาดท่องเที่ยวในภูมิภาคให้มากขึ้น
คำสำคัญ : การท่องเที่ยว, ความได้เปรียบในการแข่งขัน, ความชำนาญพิเศษ, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
Abstract
The competitive advantage in tourism of the countries in Southeast Asia was assessed by using coverage ratio and revealed comparative advantage (RCA). Static and dynamic analyses were applied to the data of tourism services export during 2002-2010. The resultsshow that Cambodia, Laos PDR, Malaysia, Thailand, and Vietnam had competitive advantages, i.e. these countries gain the surpluses more than that of the region’s. Thailand had the highest specialization in Southeast Asia but declining. Malaysia had the highest specialization growth rate followed by Cambodia and Singapore. The tourism export of these three countries declined but at a slower rate than that of the whole region. Thailandas the regional leader in tourism should forge a stronger partnership in tourism with Southeast Asian countries. It should also enhance market promotion in the region.
Keywords : tourism, competitive advantage, specialization, Southeast AsiaJEL
Classification : F14, F19, C43
Article Details
The paper is published under CC BY-NC-ND, in which the article is freely downloaded and shared in its original form non-commercially and its citation details are identified.