ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายบริโภคอาหารนอกบ้านของครัวเรือน
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
บทความนี้วิเคราะห์ถึงปัจจัยที่มีผลต่อค่าใช้จ่ายการบริโภคอาหารนอกบ้านของครัวเรือนในกรุงเทพมหานคร โดยพิจารณาจากสัดส่วนค่าใช้จ่ายในการบริโภคอาหารนอกบ้านต่อรายได้รวมของครัวเรือน การวิเคราะห์อาศัยแบบจำลองโทบิท ข้อมูลทุติยภูมิที่ใช้มาจากการสำรวจสภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน ปี พ.ศ. 2552 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ จำนวนตัวอย่าง 2,502 ครัวเรือน ผลการศึกษาพบว่า สัดส่วนค่าใช้จ่ายในการบริโภคนอกบ้านต่อรายได้รวมของครัวเรือนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.12 ทั้งนี้ปัจจัยทางด้านสังคมประชากรและด้านเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อสัดส่วนค่าใช้จ่ายดังกล่าว ได้แก่ อายุของหัวหน้าครัวเรือน จำนวนสมาชิกในครัวเรือน รายได้รวมของครัวเรือน การครอบครองที่อยู่อาศัย สถานภาพสมรสของหัวหน้าครัวเรือน และอาชีพของหัวหน้าครัวเรือน ส่วนปัจจัยที่ไม่มีผลกระทบต่อสัดส่วนค่าใช้จ่ายในการบริโภคอาหารนอกบ้านของครัวเรือน ได้แก่ เพศของหัวหน้าครัวเรือน ระดับการศึกษาของหัวหน้าครัวเรือน ประเภทของที่อยู่อาศัย หนี้สินของครัวเรือน และจำนวนชั่วโมงการทำงานของหัวหน้าครัวเรือน ผลการศึกษาชี้ว่า ธุรกิจทางด้านอาหารในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ ยังคงมีโอกาสและศักยภาพที่ดีในอนาคต เนื่องจากการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคอาหารนอกบ้านของครัวเรือนในเขตกรุงเทพฯ ยังคงมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
คำสำคัญ : แบบจำลองโทบิท, ค่าใช้จ่ายการบริโภคอาหารนอกบ้าน
Abstract
The paper examines factors affecting the households’ expenditure on food away from home in Bangkok area. In this paper, the expenditure is the proportion between the total household expenditure on food away from home and the total household income. The data are from the Household Socio-economic Survey Data in 2009 collected by the National Statistical Office. In total, the data set covers about 2,502 sample households in Bangkok and is analyzed by tobit model. The results show that the average household expenditure on food away from home to the total household income is 0.12. The age of household head, total household income, household size, tenure of residence, household head’s marital status and occupation are the factors affecting the expenditure. Gender of household head, period of education of household head, type of residence, household debt and household head’s hours of participation in the workforce have no influence on the expenditure. The results indicate that the food business in Bangkok area still has a good opportunity for growth because households’ expenditure on food away from home is increasing.
Keywords : tobit model, expenditure on food away from homeJEL
Classification : C24, D12, E21
Article Details
The paper is published under CC BY-NC-ND, in which the article is freely downloaded and shared in its original form non-commercially and its citation details are identified.