การเลือกปฏิบัติทางเพศด้านค่าจ้างในตลาดแรงงานไทย

Main Article Content

Chatmanee Khorpetch
Kiriya Kulkolkarn

Abstract

บทคัดย่อ

บทความนี้ตรวจสอบถึงการเลือกปฏิบัติทางเพศด้านค่าจ้างในตลาดแรงงานไทย โดยประมาณค่าจ้างสองขั้นตอนตามวิธีของ Heckman (1979) เพื่อแก้ไขปัญหาความเอนเอียงที่เกิดจากการเลือกตัวอย่าง และจำแนกความแตกต่างของค่าจ้างตามวิธีของ Oaxaca (1973) Cotton (1988) และ Oaxaca and Ransom (1994) ข้อมูลที่ใช้มาจากโครงการสำรวจภาวะการทำงานของประชากรทั่วราชอาณาจักรในเดือนกรกฎาคม-กันยายน พ.ศ. 2551 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ผลการศึกษาชี้ว่า สาเหตุที่แรงงานหญิงได้รับค่าจ้างต่ำกว่าแรงงานชายเกิดจากการเลือกปฏิบัติทางเพศ มิใช่เพราะผลการทำงานด้อยกว่าชาย ทั้งนี้กลับพบว่าแรงงานหญิงมีผลการทำงานสูงกว่าชายจึงควรจะได้รับค่าจ้างสูงกว่าแรงงานชาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มหนุ่มสาว (15-24 ปี) และกลุ่มวัยกลางคน (25-54 ปี) แม้จะพบสาเหตุความแตกต่างของค่าจ้างจากความด้อยประสิทธิภาพในแรงงานสูงวัย (55-60 ปี) แต่การเลือกปฏิบัติทางเพศมีผลมากเช่นกัน ความรุนแรงของการเลือกปฏิบัติทางเพศด้านค่าจ้างในกลุ่มแรงงานอายุน้อยมีมากกว่าในกลุ่มแรงงานสูงอายุ

คำสำคัญ : การเลือกปฏิบัติทางเพศ, ความแตกต่างในค่าจ้าง, ตลาดแรงงานไทย

 

Abstract

This paper investigates the presence of gender wage differentials in the Thai labor market. A two-step approach (Heckman, 1979) was applied in estimating wage equations to avoid sample selection bias. The wage differential decomposition methods (Oaxaca, 1973; Cotton, 1988; Oaxaca and Ransom, 1994) were used. The data used were obtained from the Labor Force Survey, July-September 2008, conducted by the National Statistical Office of Thailand. The findings indicate that female workers received lower wages than male workers because of their gender not because they are less productive. On the contrary,the female workers were shown to be more productive than the men; the analysis indicates they would have earned higher wages than men. This is especially true in the age groups 15-24 and 25-54 years old. Although the wage gap was partly explained by a lower productivity of workers 55-60 years old, wage discrimination played a substantial role. Wage discrimination was worse in the younger than the older worker groups.

Keywords : gender discrimination, wage differentials, labor market in Thailand

JEL Classification : J16, J31

Article Details

How to Cite
Khorpetch, C., & Kulkolkarn, K. (2013). การเลือกปฏิบัติทางเพศด้านค่าจ้างในตลาดแรงงานไทย. Asian Journal of Applied Economics, 18(2), 17–31. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/AEJ/article/view/10389
Section
Research Articles