การศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้ประโยชน์ขยะมูลฝอยจากกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

Krittaphas Mongkoldhumrongkul
Prapita Thanarak

Abstract

บทคัดย่อ

บทความนี้ศึกษาถึงความเป็นไปได้ของการลงทุนโครงการใช้ประโยชน์จากขยะของเขตกรุงเทพมหานคร โดยการแปรรูปขยะเป็นไฟฟ้าจากเทคโนโลยีฝังกลบแบบถูกหลักสุขาภิบาล และการแปรรูปขยะเป็นน้ำมันจากเทคโนโลยีไพโรไลซิส ระยะเวลาวิเคราะห์โครงการ 15 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 - 2564 ใช้การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนทางการเงินและเศรษฐศาสตร์ ส่วนการวิเคราะห์กำหนดให้อัตราดอกเบี้ยและประสิทธิภาพเครื่องจักรเป็นตัวแปรที่เปลี่ยนแปลงเพื่อดูความอ่อนไหวของโครงการ ผลการศึกษาพบว่า ปี 2564 ปริมาณขยะมูลฝอยในเขตกรุงเทพมหานครจะมีปริมาณสูงถึง 12,212.48 ตัน/วัน เทียบกับ 8,820 ตัน/วันในปี 2550 ปริมาณมากพอในการแปรรูปโดยเทคโนโลยีที่ศึกษา การวิเคราะห์ทางการเงินของโครงการแปรรูปขยะเป็นไฟฟ้า พบว่า ณ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 6.25 จะเกิดความคุ้มค่าในการลงทุนเมื่อเครื่องจักรมีประสิทธิภาพสูงถึงร้อยละ 90 ถ้าคิดที่อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 10.25 เครื่องจักรต้องมีประสิทธิภาพเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์จึงจะเกิดความคุ้มค่า สำหรับโครงการแปรรูปขยะเป็นน้ำมัน พบว่า ณ อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 6.25 จะมีความคุ้มค่าเมื่อเครื่องจักรมีประสิทธิภาพการผลิต 8 ตัน/วัน และ ณ อัตราดอกเบี้ยสูงถึงร้อยละ 10.25 จะต้องแปรรูปได้ 10 ตัน/วัน ส่วนการวิเคราะห์ด้านเศรษฐศาสตร์ของโครงการแปรรูปขยะเป็นไฟฟ้าพบว่า ณ อัตราคิดลดร้อยละ 8 จะมีความคุ้มค่าในการลงทุนเมื่อเครื่องจักรมีประสิทธิภาพร้อยละ 80 และณ อัตราคิดลดร้อยละ 10 ขึ้นไป เครื่องจักรจะต้องมีประสิทธิภาพถึงร้อยละ 90 สำหรับโครงการแปรรูปขยะเป็นน้ำมัน พบว่า ณ อัตราคิดลดร้อยละ 8 และ 10 จะเกิดความคุ้มค่าเมื่อเครื่องจักรมีประสิทธิภาพการผลิต 4 ตัน/วัน และถ้าคิดที่อัตราคิดลดร้อยละ 12 ต้องแปรรูปได้ 6 ตัน/วัน การนำขยะไปแปรรูปเป็นไฟฟ้าหรือน้ำมันเป็นทางเลือกที่มีความเป็นไปได้ในการลงทุนระยะยาวของภาครัฐ สำหรับการลงทุนของภาคเอกชนนั้น โครงการแปรรูปขยะเป็นน้ำมันจะมีความเป็นไปได้สูงกว่าโครงการแปรรูปเป็นไฟฟ้า 

คำสำคัญ : ขยะมูลฝอย, การวิเคราะห์โครงการ, เทคโนโลยีฝังกลบแบบถูกหลักสุขาภิบาล, เทคโนโลยีไพโรไลซิส

 

Abstract

This paper presents a feasibility study of Bangkok's solid waste utilization projects, i.e. electricity generation from sanitary landfill technology and crude oil production with pyrolysis technology. Cost-benefit analysis is used to assess the financial and economic feasibilities of the projects. The analytical time frame is 15 years from 2007-2021. An interest rate and machine efficiency/ capacity are the variables in the sensitivity analysis. It reveals that the amount of solid waste in year 2021 would reach 12,212.48 tons/day compared to 8,820 tons/day in 2007. The amount is sufficient for processing. The electricity generation project would be financially viable at an interest rate of 6.25% and with machine efficiency of 90%. An interest rate of 10.25% would require 100% of machine efficiency to make the project feasible. Crude oil production would be feasible at 6.25% interest rate and with production capacity of 8 tons/ day; it would be 1 0 tons/day at 1 0.25% interest rate. The electricity production project would be economically viable at 8% discount rate and with 80% efficiency of the machine; a discount rate of 10% or more would require at least a 90% machine efficiency. For crude oil production, the project would be economically viable with a machine capacity of at least 4 tons/day at discount rates of 8% and 1 0%; it would be 6 tons/day at 12%. Solid waste for electricity generation and crude oil production are alternatives for a long-term investment by the government. For private investment, crude oil production would be a more feasible project than electricity production.

Keywords : solid waste, project analysis, sanitary landfill technology, pyrolysis technology

JEL Classification : Q20, Q42, Q50


Article Details

How to Cite
Mongkoldhumrongkul, K., & Thanarak, P. (2013). การศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้ประโยชน์ขยะมูลฝอยจากกรุงเทพมหานคร. Asian Journal of Applied Economics, 18(1), 64–75. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/AEJ/article/view/10435
Section
Research Articles