Market Performance and Price Analysis of Sesame in Myanmar

Main Article Content

Swe Mon Aung
Kanchana Sripruetkiat
Somporn Isvilanonda

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาวิเคราะห์ถึงบทบาทของตลาดและพฤติกรรมราคาของตลาดงาในประเทศพม่า โดยใช้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ตัวแทนผู้เกี่ยวข้องในตลาดเมืองมันดาเลย์ มงยัว ปากกกู และย่างกุ้ง ระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม พ.ศ.2551 เพื่อศึกษาส่วนแบ่งราคาและกำไรเบื้องต้นของคนกลางทั้งหมด โดยใช้การวิเคราะห์ cointegration และอาศัยข้อมูลรายเดือนของราคาขายส่งและราคาส่งออกงาดำและงาขาวของเดือนกันยายน พ.ศ.2545 ถึงตุลาคม 2551 ตามวิธีการของ Engle and Granger, error correction model และ Granger causality test จากการศึกษาพบว่า เกษตรกรที่มันดาเลย์ได้รับส่วนแบ่งกำไรสูงสุดทั้งสินค้างาดำและงาขาว เกษตรกรได้รับส่วนแบ่งกำไรสูงสุดจากการส่งออกงาขาวไปประเทศจีน ส่วนผู้ส่งออกได้รับส่วนแบ่งสูงสุดจากการส่งออกงาดำไปประเทศญี่ปุ่น พ่อค้าขายส่งได้รับส่วนแบ่งราคาสูงสุดจากราคาส่งออก ตลาดมันดาเลย์มีความเชื่อมโยงกันกับตลาดมงยัวและตลาดปากกกู ตลาดภายในประเทศทั้งหมดมีความเชื่อมโยงกับตลาดส่งออก เพราะผู้ส่งออกใช้ราคาขายส่งภายในประเทศในการกำหนดราคาส่งออก การแก้ไขการเบี่ยงเบนจากดุลยภาพระยะยาวของราคางาดำภายในประเทศ สามารถทำได้โดยลดราคางาดำในตลาดมันดาเลย์ และเพิ่มราคางาดำในตลาดปากกกู การปรับตัวเข้าสู่ดุลยภาพระยะยาวของราคาส่งออกมีความรวดเร็วกว่าการปรับตัวของราคาในประเทศ การเพิ่มขึ้นของราคาส่งออกและการลดลงของราคาขายส่งภายในประเทศสามารถทำให้เกิดดุลยภาพระยะยาวของราคางาขาวและงาดำ 

คำสำคัญ : เมล็ดงา, ส่วนเหลื่อมการตลาด, ความเชื่อมโยงของตลาด

 

Abstract

This study examines market performances and price behavior of sesame seeds in Myanmar. Data were obtained by interviewing representatives of the intermediaries of the sesame marketing channels in the townships of Mandalay, Monywa, Pakokku and Yangon during November to December 2008. Price spread, gross margin and share in the export price were calculated for each intermediary. Monthly wholesale prices from September 2002 to October 2008 of white and black sesame seeds and export price in selected markets were used for cointegration analysis. Engle and Granger’s cointegration method, error correction model and Granger causality test were applied for price analysis. Mandalay farmers got the highest gross margin for black and white sesame. Farmers received the highest gross margin for white sesame exported to China. Exporters received the highest gross margin for black sesame to Japan. Wholesalers received the highest share of the export price. Mandalay market was integrated with Monywa and Pakokku markets. All domestic markets were integrated with the export market because exporters used the domestic wholesale price to set the export price. Deviation from domestic long-run equilibrium of black sesame price could be corrected by decreasing price in Mandalay and increasing it in Pakokku market. Speed of adjustment for export price to correct the deviation from long-run equilibrium was faster than that of all domestic prices. Long-run equilibrium of both colored sesame prices could be obtained by increasing export price and decreasing domestic wholesale prices.

Keywords : sesame seed, marketing margin, cointegration, error correction model

Article Details

How to Cite
Aung, S. M., Sripruetkiat, K., & Isvilanonda, S. (2013). Market Performance and Price Analysis of Sesame in Myanmar. Asian Journal of Applied Economics, 17(1), 44–69. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/AEJ/article/view/10471
Section
Research Articles