การประยุกต์แบบจำลองเวกเตอร์การปรับตัวเพื่อพยากรณ์อัตราแลกเปลี่ยน

Main Article Content

ภูมิฐาน รังคกูลนุวัฒน์

Abstract

บทคัดย่อ

บทความนี้อาศัยทฤษฎีการเงิน monetary portfolio synthesis model และแบบจำลองเวกเตอร์การปรับตัวสู่ดุลยภาพระยะยาว vector error correction model (VECM) เพื่อพยากรณ์อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อเยนของประเทศไทย 24 เดือน ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2549 ถึงเดือนกรกฎาคม 2551 ผลการศึกษาพบว่า ช่วงเดือนสิงหาคม 2549 ถึงเดือนกรกฎาคม 2550 ค่าพยากรณ์ที่ได้มีแนวโน้มห่างจากค่าจริงมากขึ้นเรื่อยๆ โดยวัดความคลาดเคลื่อนของค่าพยากรณ์ RMSE ได้สูงถึง 0.075 วิกฤตการณ์การเมืองเดือนกันยายน 2549 อาจเป็นปัจจัยที่มีผลกระทบต่ออัตราแลกเปลี่ยน ส่วนผลพยากรณ์ช่วงตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2550 ถึงเดือนกรกฎาคม 2551 กลับพบว่ามีแนวโน้มเข้าใกล้กับค่าจริงมากขึ้น วัดค่า RMSE ได้ลดลงเหลือเพียง 0.041 ซึ่งอาจเป็นเพราะวิกฤตการณ์การเมืองที่เบาลงในช่วงเวลาดังกล่าว การศึกษาชี้ว่าแบบจำลอง VECM เป็นวิธีพยากรณ์อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อเยนที่สามารถนำมาใช้ได้โดยให้ความแม่นยำในระดับที่ยอมรับได้

คำสำคัญ : อัตราแลกเปลี่ยน, ความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยะยาว, แบบจำลองเวกเตอร์การปรับตัว

 

Abstract

This paper applies monetary portfolio synthesis model and vector error correction model (VECM) in forecasting the exchange rates of Baht per Yen for a 24-month period from August 2006 to July 2008. The results show that the forecast values of August 2006-July 2007 period tended to diverge from the actual values. The error in terms of an RMSE of 0.075 was calculated. The political crisis in September 2006 may have affected the exchange rates. Meanwhile, the forecast values of August 2007-July 2008 period tended to get close to the actual values with an RMSE of only 0.041. The mitigation of the political crisis could have contributed to this. The results indicate that forecasting the exchange rates using VECM can be applied and the forecast values are acceptable.

Keywords : exchange rate, long-run relationship, vector error correction model

Article Details

How to Cite
รังคกูลนุวัฒน์ ภ. (2013). การประยุกต์แบบจำลองเวกเตอร์การปรับตัวเพื่อพยากรณ์อัตราแลกเปลี่ยน. Asian Journal of Applied Economics, 15(2), 19–31. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/AEJ/article/view/10488
Section
Research Articles