มูลค่าแหล่งหญ้าทะเลจากการใช้ประโยชน์ด้านประมงในบริเวณเกาะลิบง

Main Article Content

อัญรัตน์ เสียมไหม
โสมสกาว เพชรานนท์

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษานี้ประเมินมูลค่าแหล่งหญ้าทะเลจากการใช้ประโยชน์ด้านการประมงของชุมชนเกาะลิบง จังหวัดตรังโดยใช้วิธีมูลค่าตลาด (market value method) และการวิเคราะห์เส้นทางความสัมพันธ์ (path analysis) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อมูลค่าการใช้ประโยชน์การวิเคราะห์อาศัยข้อมูลจากแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างในพื้นที่เกาะลิบง จำนวน269 ครัวเรือน ตั้งแต่เดือนมกราคม-ธันวาคม พ.ศ.2550 ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างเข้าไปใช้ประโยชน์แหล่งหญ้าทะเลเพื่อทำประมงเป็นหลัก ประเมินเป็นมูลค่าแหล่งหญ้าทะเลจากการใช้ประโยชน์ด้านประมงได้รวม 12,675,353 บาท/ปี และคิดเป็นมูลค่าสุทธิ 7,895,620 บาท/ปี ปัจจัยที่มีผลโดยตรงต่อมูลค่าดังกล่าว ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.10 ได้แก่ รูปแบบการเดินทางเข้าไปใช้ ประโยชน์ รายจ่ายครัวเรือน การเข้ารับการอบรมเกี่ยวกับทรัพยากรชายฝั่งและการมีส่วนร่วมต่อการจัดการแหล่งหญ้าทะเล การศึกษานี้ชี้ว่าแหล่งหญ้าทะเลมีมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์จากการใช้ประโยชน์ด้านประมงมาก โดยชุมชนเกาะลิบงเป็นผู้ได้รับประโยชน์นี้โดยตรง ผู้เกี่ยวข้องควรได้เผยแพร่ข้อมูลนี้ให้ชุมชนได้ร้บทราบ เพื่อกระตุ้นให้เกิดความตระหนักในการใช้ทรัพยากรอย่างรู้ค่า ข้อมูลนี้ยังสามารถใช้ประกอบการวางแผน การจัดการใช้ประโยชน์ทรัพยากร และการอนุรักษ์แหล่งหญ้าทะเล

คำสำคัญ: แหล่งหญ้าทะเล มูลค่าด้านการประมง การใช้ประโยชน์ เกาะลิบง

 

Abstract

This study evaluates the fishery resource use value of a seagrass bed in Libong community, Trang Province. The market value approach and path analysis were used to examine the factors affecting the value of fishery resource utilization in the seagrass bed. Data were obtained from a questionnaire survey of 269 households in Libong during January-December, 2007. The utilization of the seagrass bed was mainly for capture fishery. The gross fishery resource use value of the seagrass bed was 12,675,353 baht per year and the net value was 7,895,620 baht per year. The factors that significantly affect the value were patterns of travel to the seagrass bed, household expenditure, and training attendance in coastal resources and participation in the seagrass bed management in the island (at = 0.10). This study shows that the seagrass bed provides a high economic value from fishery resource use. The community is the direct beneficiary of this benefit. The results should be disseminated to the community to improve awareness of wise use of the resource. The results would be useful for planning and management for resource utilization and conservation of the seagrass bed.

Keywords: seagrass bed, fishery resource value, utilization, Libong Island

Article Details

How to Cite
เสียมไหม อ., & เพชรานนท์ โ. (2013). มูลค่าแหล่งหญ้าทะเลจากการใช้ประโยชน์ด้านประมงในบริเวณเกาะลิบง. Asian Journal of Applied Economics, 16(2), 1–17. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/AEJ/article/view/10490
Section
Research Articles