แบบจำลองตลาดผู้ขายน้อยรายในอุตสาหกรรมบริการเดินรถ
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การศึกษานี้วิเคราะห์การแข่งขันระหว่างผู้ประกอบการเดินรถปรับอากาศเส้นทางกรุงเทพฯ–ขอนแก่น ซึ่งเน้นแข่งขันด้านการสร้างความแตกต่างของบริการและจำนวนผู้ใช้บริการ การวิเคราะห์อาศัยแบบจำลองผู้ขายน้อยรายโคร์โนต์ (Cournot) และสแต็กเคิลเบิร์ก (Stackelberg) ในกรณีผู้ประกอบการสองรายซึ่งเป็นผลจากการประมาณฟังก์ชันอุปสงค์ ทั้งนี้พบว่าจำนวนผู้ใช้บริการ อัตราค่าโดยสาร และผลกำไร ณ ระดับดุลยภาพของบริษัท นครชัยแอร์ สูงกว่าของบริษัท ขอนแก่นทัวร์ ทั้งในแบบจำลองโคร์โนต์และสแต็กเคิลเบิร์ก ในฐานะผู้นำบริการ โดยบริษัท นครชัยแอร์ สามารถทำกำไรได้เพิ่มขึ้น ส่วนบริษัท ขอนแก่นทัวร์ เป็นผู้ตามกลับมีผลกำไรลดลงอย่างมาก การพัฒนาความแตกต่างของบริการจะช่วยเพิ่มความสามารถการแข่งขันให้แก่ผู้ประกอบการเดินรถ ทั้งยังช่วยลดความเสียเปรียบในการแข่งขันกรณีที่เป็นผู้ตาม
คำสำคัญ : อุตสาหกรรมบริการเดินรถ, การแข่งขันแบบโคร์โนต์, การแข่งขันแบบสแต็กเคิลเบิร์ก, ตลาดผู้ขายน้อยราย
Abstract
This paper analyzes competition among transport firms in the Bangkok-Khon Kaen bus service industry. The firms provide differentiated services and compete for customers. The analysis uses Cournot and Stackelberg models. Based on the estimation results of the firms' demand functions, the case of duopoly situation is assumed. The results show that in the equilibrium levels of both models the number of customers, prices, and profits of Nakhonchai Air are higher than those of Khon Kaen Tour. Nakhonchai Air as the Stackelberg leader can increase its profit while Khon Kaen Tour as the follower has a dramatic decrease in its profit. An increase in the level of product differentiation would enhance transport firms' competitive capacities. This strategy will also reduce the competitive disadvantage of the follower.
Keywords : bus service industry, Cournot competition, Stackelberg competition, oligopoly
Article Details
The paper is published under CC BY-NC-ND, in which the article is freely downloaded and shared in its original form non-commercially and its citation details are identified.