ผลกระทบของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออัตราดอกเบี้ยระยะยาว ในประเทศไทย

Main Article Content

นิพัทธ์ พันธ์นิล
อรุณ เกียระสาร

Abstract

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยในครั้งนี้ เพื่อศึกษาถึงผลกระทบของปัจจัยทั้งทางด้านนโยบายการเงิน นโยบายการคลัง และภาคต่างประเทศ ที่มีอิทธิพลต่อระดับอัตราดอกเบี้ยระยะยาวในประเทศไทย โดยใช้ข้อมูลรายเดือนระหว่างเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2543 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2547 ผลการวิจัยในส่วนของแบบจำลอง VECM พบว่าการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรต่าง ๆ ที่ใช้ในการวิจัยจะส่งผลให้ระดับอัตราดอกเบี้ยระยะยาวมีการปรับตัวเข้าสู่ดุลยภาพในระยะยาวร้อยละ -0.0846 ต่อเดือน สำหรับการศึกษาปฏิกิริยาตอบสนองต่อความแปรปรวนพบว่า ปัจจัยภาคต่างประเทศมีอิทธิพลต่อการกำหนดระดับอัตราดอกเบี้ยระยะยาวของไทยมากที่สุด โดยนโยบายการคลังจะมีอิทธิพลต่อระดับอัตราดอกเบี้ยระยะยาวมากกว่านโยบายการเงิน อันแสดงให้เห็นถึงบทบาทและความสำคัญของนโยบายการคลังต่อตลาดการเงินที่มีอย่สูง ในขณะที่เศรษฐกิจของประเทศเผชิญอยู่กับสถานการณ์สภาพคล่องล้นระบบและภาวะเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ

คำสำคัญ : อัตราดอกเบี้ยระยะยาว

 

ABSTRACT

The objective of this research is to study ail impact of monetary policy, fiscal policy and foreign factor on the long-term interest rate in Thailand, using monthly data form June 2000 to December 2004. The study found that the VECM models showed the change of variables adjust the long-run equilibrium of long-term interest rate by - 0.0846 percent per month. The impulse response analysis found that the foreign factor has the highest influence on long-term interest rate and the impact of fiscal policy on long­term interest rate is stronger than monetary policy. It showed that the fiscal policy has an important role to play in the financial market where the economy has high liquidity and low inflation.

Key word: Long-term Interest Rate

Article Details

How to Cite
พันธ์นิล น., & เกียระสาร อ. (2013). ผลกระทบของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออัตราดอกเบี้ยระยะยาว ในประเทศไทย. Asian Journal of Applied Economics, 13(1), 58–72. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/AEJ/article/view/10538
Section
Research Articles