แบบจำลองระบบสัญญาณเตือนภัยล่วงหน้าสำหรับการเลื่อนการชำระหนี้ต่างประเทศของประเทศในกลุ่มอาเซียน

Main Article Content

Teerasak Sapwarobol

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบจำลองระบบสัญญาณเตือนภัยล่วงหน้าสำหรับการเลื่อนการชำระหนี้ต่างประเทศของประเทศในกลุ่มอาเซียน โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิประเภทอนุกรมเวลารายปีระหว่างปี ค.ศ. 1999- 2019 มาสร้างระบบสัญญาณเตือนภัยล่วงหน้าผ่านแบบจำลองโลจิต (Logit model) สำหรับข้อมูลการเลื่อนการชำระหนี้ต่างประเทศ (Debt rescheduling) เป็นชุดข้อมูลที่อยู่ในฐานข้อมูล International Debt Statistics ของธนาคารโลก ผลการศึกษาพบว่า แบบจำลองระบบสัญญาณเตือนภัยล่วงหน้าสำหรับการเลื่อนการชำระหนี้ต่างประเทศของประเทศในกลุ่มอาเซียนควรประกอบด้วยตัวแปร 4 ตัว ได้แก่ อัตราการว่างงาน สัดส่วนของหนี้ต่างประเทศที่ได้รับการผ่อนปรนต่อหนี้ต่างประเทศทั้งหมด สัดส่วนภาระหนี้ต่างประเทศต่อ GDP และตัวแปรสัดส่วนหนี้ต่างประเทศระยะสั้นต่อเงินสำรองระหว่างประเทศ ซึ่งหากกำหนดค่า Cut off value ที่ 0.5 พบว่าแบบจำลองมีความแม่นยำในการทำนายในระดับสูง กล่าวคือ เกิด Type II error ร้อยละ 10 และเกิด Type I error เพียงร้อยละ 4.1 และโดยภาพรวม แบบจำลองสามารถทำนายการเกิด/ไม่เกิดการเลื่อนการชำระหนี้ต่างประเทศของประเทศในกลุ่มอาเซียนได้ถูกต้องถึง 80 ครั้งจากทั้งหมด 84 ครั้ง

Article Details

บท
Research Articles

References

Anantapong, W. (2003). The impact of economic factors on probability of debt crisis in developing countries (Master’s thesis). Chulalongkorn University, Bangkok, Thailand. (in Thai)

Avramovic, D. (1964). Economic growth and external debt. Johns Hopkins Press. Retrieved from https://documents1.worldbank.org/curated/fr/883691468780874544/pdf/multi0page.pdf

Bulow, J. & Rogoff, K. (1990). Cleaning up third world debt without getting taken to the cleaners. The Journal of Economic Perspectives, 4(1), 31-42.

Chowdhury, K. (2000). Australia's external debt: Is it a symptom or a cause of economic slowdown?. Faculty of Business - Papers (Archive), 470. Retrieved from https://core.ac.uk/reader/36988750

Feder, G., & Just, R. E. (1977). A study of debt servicing capacity applying logit analysis. Journal of Development Economics, 4(1), 25–38.

Honak, S. (2001). An analysis of external debt servicing capacity of Thailand (Master’s thesis). Dhurakij Pundit University, Bangkok, Thailand. (in Thai)

Kenen, P. B. (1990). Organising debt relief: The need for a new institution. The Journal of Economic Perspectives, 4(1), 7-18.

Lau, E., & Lee, A. S. (2016). Determinants of external debt in Thailand and the Philippines. International Journal of Economics and Financial, 6(4), 1973-1980.

Laušev, J., Stojanović, A., & Todorović, N. (2011). Determinants of debt rescheduling in Eastern European countries. Economic Annals, 56(188), 7-31.

Llorca, M. (2017). External debt sustainability and vulnerabilities: Evidence from a panel of 24 Asian countries and prospective analysis. ADBI Working Paper, 692, 1-24.

Sachs, J. D. (1990). A strategy for efficient debt reduction. The Journal of Economic Perspectives, 4(1), 19-30.

Siddiqui, R., & Siddiqui, R. (2001). Determinants of debt rescheduling in Pakistan. The Pakistan Development Review, 40(4), 689-704.

Wyplosz, C. (2007). The foreign exchange reserves buildup: business as usual? Graduate Institute of International Studies and CEPR. Retrieved from https://www.un.org/esa/ffd/wp-content/uploads/2007/03/20070306_Wyploz.pdf