การประยุกต์ใช้รูปแบบกระบวนการนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม เพื่อขับเคลื่อนงานตามนโยบาย ผู้บัญชาการ หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา
คำสำคัญ:
นโยบายสาธารณะ, การมีส่วนร่วม, หน่วยบัญชาการทหารพัฒนาบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการประยุกต์ใช้รูปแบบกระบวนการนโยบายสาธารณะ แบบมีส่วนร่วมเพื่อขับเคลื่อนงานตามนโยบาย ผู้บัญชาการ หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา ซึ่งเป็นกระบวนทัศน์ ที่ท้าทายของหน่วยบัญชาการทหารพัฒนาในยุคที่สังคมกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยมีกระบวนการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม 5 ขั้นตอน คือ 1) ร่วมทำความเข้าใจและแสดงความคิดเห็น 2) ร่วมคัดเลือกนโยบายสาธารณะ 3) ร่วมนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ 4) ร่วมประเมินผล และ 5) ร่วมทบทวนนโยบาย และด้วยนโยบายหลักใน 4 ประเด็นยุทธศาสตร์ของหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา ให้ความสำคัญ กับการปฏิบัติงานร่วมกับประชาชน ชุมชน และความมั่นคงของประเทศ ดังนั้น การประยุกต์ใช้นโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมเพื่อขับเคลื่อนงานตามนโยบายผู้บัญชาการ หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา สามารถกระทำได้ ภายใต้ขอบเขตและข้อตกลงร่วมกันของทุกภาคส่วน ผ่านการขับเคลื่อนงานที่ให้ความสำคัญ กับ “หลักสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา” ประกอบด้วย 1) ความรู้ (Knowledge) 2) การเคลื่อนไหวทางสังคม (Social movement) และ 3) เชื่อมฝ่ายนโยบาย (Policy link) ทั้งนี้ กระบวนการมีส่วนร่วมที่บริหารจัดการทำให้เกิด การจัดการความรู้ร่วม (Co-creation of knowledge) การจัดการร่วม (Co-management) และการรับผลประโยชน์ร่วม (Co-benefits) กันอย่างเท่าเทียม จากการศึกษาแนวทางการขับเคลื่อนงานในรูปแบบดังกล่าวเป็นเพียงการศึกษาจากเอกสารเท่านั้น ควรมีการนำแนวคิด กระบวนการที่นำเสนอไปทดสอบผ่านกระบวนการวิจัย เพื่อให้สามารถยืนยันผลของแนวคิด และสามารถขยายผล หรือเป็นแบบอย่างสู่การปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่น ๆ ของกองทัพ ต่อไป
References
ถวัลรัฐ วรเทพพุฒิพงษ์. (2541). การกำหนดและวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ : ทฤษฏีและการประยุกต์ใช้. กรุงเทพฯ : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ทศพร ศิริสัมพันธ์. (2539). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิรันดร์ จงวุฒิเวศน์. (2550). แนวคิดการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: กรมพัฒนาชุมชน
ประวัติความเป็นมาของกองบัญชาการทหารพัฒนา. (มปป.) [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://afdc-ict.rtarf.mi.th/afdcintra/afdc/afdchistory.pdf. (วันที่ค้นข้อมูล 10 มกราคม 2564).
ปวีณา วีรยางกูร. (2554). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลอ้อมเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. การค้นคว้าอิสระ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พชรภรณ์ สิงห์สุรี. (2558). การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาขององคืกรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี.
มารุต พัฒผล. (2561). การพัฒนารูปแบบการประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนระดับบัณฑิตศึกษา. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ ปีที่ 11 ฉบับที่ 3 เดือนกันยายน – ธันวาคม 2561. 3413-3432.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
เรณุมาศ รักษาแก้ว . การมีส่วนร่วมของประชาชน . [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=การมีส่วนร่วมของประชาชน. (วันที่ค้นข้อมูล 10 มกราคม 2564).
ศุภชัย ยาวะประภาษ. (2550). นโยบายสาธารณะ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สนธิกาญจน์ เพื่อนสงคราม. (2560). กรอบนโยบายสาธารณะที่ดีที่พรรคการเมืองของไทยควรนำมาประกอบการจัดทำนโยบายการบริหารประเทศ. รัฐสภาสารปีที่ 65 ฉ.11 พ.ย.2560. หน้า 9-44.
สรรชัย อจลานนท์, พลโท. (2560). ทหารกับการพัฒนาประชาธิปไตย. วิทยาลัยรัฐธรรมนูญ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพฯ. 16 หน้า.
สุธี วรประดิษฐ์. (2553). การมีส่วนร่วมของชุมชนงานสารสนเทศสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดตราด : สำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดตราด.
อำพล จินดาวัฒนะ. (2552). การสร้างนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม. กรุงเทพฯ : บียอนด์ พับลิสซิ่ง.
Cochran, C. L. and Malone, E. F. (2005). Basic concepts in Public Policy. Public Policy : Perspectives and choices 3 rd. Ed. Lynne Rienner Publishers. USA. P. 1-5.
Cohen, J. and Uphoff, N. (1980). Participation’s place in rural development: Seeking clarity through specificity, World Development, 8: 213-235.
Bridgman, P. and Davis, G. (2003). What use is a policy cycle? Plenty, if the aim is clear. Australian Journal of Public Administration 62(3), 98-102, 2003.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย และบุคลากรท่านอื่นๆในกองบัญชาการฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว