สภาพปัญหา ความต้องการและความคาดหวังของชุมชนด้านการสื่อสารในสถานการณ์ภัยพิบัติน้ำท่วม: กรณีศึกษาเปรียบเทียบชุมชนในเขตเมืองและเขตชนบทในจังหวัดน่าน
คำสำคัญ:
การสื่อสาร, ภัยพิบัติน้ำท่วม, ชุมชนในเขตเมืองและเขตชนบท, จังหวัดน่านบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยอาศัยวิธีการแจงนับข้อมูลและแสดงผลบางส่วนในรูปแบบตารางความถี่ เพื่อการวิเคราะห์ร่วมกับการอ้างอิงถ้อยคำที่สะท้อนประสบการณ์ของผู้ให้ข้อมูล โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของชุมชนในเรื่องการสื่อสารในสภาวะก่อนเกิด/ขณะเกิด/หลังเกิดภัยพิบัติน้ำท่วม 2) เพื่อศึกษาความต้องการและความคาดหวังของชุมชนในเรื่องการสื่อสารในสภาวะก่อนเกิด/ขณะเกิด/หลังเกิดภัยพิบัติน้ำท่วม โดยการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างชุมชนในเขตเมืองและเขตชนบท ผลการวิจัยพบว่า ความเหลื่อมล้ำทางเทคโนโลยีส่งผลให้ชุมชนในเขตเมืองมีความได้เปรียบด้านการสื่อสารในสถานการณ์ภัยพิบัติน้ำท่วมอย่างชัดเจนด้านความรวดเร็วและด้านวิธีการสื่อสาร สำหรับความคาดหวังต่อเนื้อหาของสาร พบว่าในระยะก่อนเกิดภัยพิบัติ และขณะเกิดภัยพิบัติ ทั้ง 2 ชุมชนมีความต้องการและความคาดหวังต่อเนื้อหาของสารเหมือนกันคือ กระแสน้ำหรือระดับน้ำ และสถานที่เพื่อรับของบริจาค (อาหาร น้ำดื่ม ยาพื้นฐาน) ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม แม้ความคาดหวังหลังเกิดภัยพิบัติ หรือเมื่อเข้าสู่สภาวะปกติ มีความคาดหวังต่อการเข้าให้ความช่วยเหลือของหน่วยงานภาครัฐตรงกันมากที่สุด แต่ลักษณะของภัยพิบัติน้ำท่วมที่แตกต่างกันส่งผลต่อความต้องการที่แตกต่างกันบางประการคือ ชุมชนเขตเมืองที่ประสบภัยพิบัติแบบน้ำท่วมขัง ต้องการข้อมูลการช่วยเหลือซ่อมแซมที่อยู่อาศัยและเงินเยียวยาชดเชยผู้ได้รับความเสียหาย ในขณะที่ชุมชนในเขตชนบทที่ประสบภัยพิบัติแบบน้ำป่าไหลหลาก ต้องการข้อมูลการเข้าช่วยเหลือทำความสะอาดชุมชน การเก็บซากวัสดุต้นไม่โค่นล้ม เพราะต้องการมีส่วนร่วมเพื่อให้สามารถกลับเข้าสู่การดำเนินชีวิตปกติโดยเร็ว
References
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย. (2557). การลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน. (พิมพ์ครั้งที่ 1). สถานที่พิมพ์/ผู้จัดพิมพ์: สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ สำนักงานประเทศไทย.
พนิดา จงสุขสมกุล. (2557). การสื่อสารเพื่อบริหารจัดการภัยพิบัติกรณีศึกษาน้ำท่วมในประเทศไทยและฟิลิปปินส์. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร, ปีที่ 9 ฉบับที่ 1, 67. สืบค้นจาก(http://www.bec.nu.ac.th/becjournal/misjournal/files/142371318401%20FrontPart.pdf) เข้าถึงเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2563.
พรชัย สิทธิศรัณย์กุล และคณะ. (2559). โครงการพัฒนาศักยภาพการฟื้นคืนของชุมชนเขตเมืองในประเทศไทย. ได้รับทุนสนับสนุนจากคลัสเตอร์พัฒนาสังคมและความมั่งคงของมนุษย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุริชัย หวันแก้ว. (2554). สังคมวิทยาสึนามิ : การรับมือกับภัยพิบัติ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักมาตรการป้องกันสาธารณภัยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย. ระบบการแจ้งเตือนภัยล่วงหน้าของประเทศไทย. (http://www.openbase.in.th/files/zealzone.pdf) เข้าถึงเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2559.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). การจัดการภัยพิบัติและการฟื้นฟูบูรณะหลังการเกิดภัย กรณีศึกษาประเทศไทยและประเทศอื่นๆ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.).
Smart, C., & Vertinsky, I. 2006. Designs for crisis decision units. In D. Smith & D. Elliott (Eds.), Keyreading in crisis management: Systems andstructures for prevention and recovery (pp. 321-340). New York: Routledge.
Tierney, K. J., Lindell, M. K., & Perry, R. W. 2001. Facing the unexpected: Disaster preparedness and response in The United States. Washington, DC: Joseph Henry Press
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย และบุคลากรท่านอื่นๆในกองบัญชาการฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว